เที่ยวชมเมือง สักการะ ศาลหลักเมืองขอนแก่น   


14 มีนาคม 60 17:00:23

 "ศาลหลักเมืองขอนแก่น" หรือ "ศาลเทพารักษ์หลักเมือง" ถูกเรียกสั้นๆว่า "อินทร์ตา" ซึ่งเกิดจากการสร้างที่รวมเอาวัฒนธรรมจีนและไทยรวมกัน โดยคนจีนเรียกว่า "ศาลหลักเมืองกง" ส่วนคนไทยเรียกว่า "ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง"
    
ศาลเทพารักษ์หลักเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาสุขใจ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนเมืองที่มักจะมาสักการะที่ศาลหลักเมืองแห่งนี้เป็นประจำ
บรรยากาศภายในศาลหลักเมืองมีความร่มรื่น และสะอาดตา การออกแบบสถาปัตยกรรมศาลหลักเมืองขอนแก่น ตัวอาคารจะตั้งอยู่ ณ บริเวณจุดเดิม ลักษณะตัวอาคารมีศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ทรวดทรวงและส่วนประกอบงานศิลป์เป็นการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมที่สำคัญของท้องถิ่นอีสาน ขนาดและรูปทรงเป็นเป็นอาคารโถงจัตุรมุข กว้างขวางโอ่โถงกว่าของเดิมมาก
   
ผสมผสานกับการสร้างเสาฟ้าดิน ซึ่งเปรียบเสมือนสถานที่รับราชโองการจากสวรรค์มายังโลกมนุษย์ของเง็กเซียนฮ่องเต้ เพื่อประธานโชคลาภให้ผู้คนที่มากราบไหว้
สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับศาลเจ้าพ่อมานานไม่เคยเปลี่ยนคือหนังกางแปลงหรือหนังแก้บน ซึ่งมีให้เห็นบ่อยครั้งในทุกช่วงของปี
อาคารสักการะศาลหลักเมืองขอนแก่นหลังปัจจุบัน เปิดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2550 สร้างขึ้นในโครงการบูรณะ พัฒนาปฏิสังขรณ์ศาลหลักเมือง และในวโรกาสมหามงคลสมัยเพื่อน้อมถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเจริญพระชนมายุ 80พรรษา และเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองจำลองให้ประชาชนได้สักการบูชา ขอพรเจ้าพ่อหลักเมือง
   
ลักษณะตัวอาคารมีศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ทรวดทรวงและส่วนประกอบงานศิลป์เป็นการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมที่สำคัญของ ท้องถิ่นอีสาน ขนาดและรูปทรงเป็นเป็นอาคารโถงจัตุรมุข กว้างงขวางโอ่โถงกว่าของเดิมมาก โดยมีขนาดตัวอาคาร 13 x 13 เมตร โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีพื้นที่ภายในเป็นห้องโถงรวม 73 ตารางเมตร ย่อมุมตัวอาคารโดยรอบมีระเบียงยื่นทั้ง 4 ด้าน ความสูงจากพื้นลานรอบอาคารถึงถึงยอดฉัตรทองคำรวม 27.50 เมตร หลังคาเป็นทรงจั่วจัตุรมุขหลังคาซ้อน 3 ชั้น และชั้นเครื่องยอดเป็นรูปเจดีย์ศิลปะพื้นเมืองอีสาน สัณฐานเป็นเจดีย์จำลองจากองค์พระธาตุขามแก่น
   
ปัจจุบันศาลหลักเมืองขอนแก่นดูแลโดยเทศบาลนครขอนแก่น โดยเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 60 ได้มีพิธี รำบวงสรวงขอนแก่นครบรอบ 220 ปี ที่ศาลหลักเมืองขอนแก่น ซึ่งมีประชาชนร่วมรำถึง 35,000 คน (อ่านข่าวได้ที่ http://www.khonkaenlink.info/home/news/3817.html)

ประวัติของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น
(โดยสำนักงานประชาสัทพันธ์จ.ขอนแก่น http://pr.prd.go.th/khonkaen/main.php?filename=kk_02)
เดิมอยู่บ้านโนนเมือง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอชุมแพ เป็นระยะทาง 1 ก.ม. บริเวณโดยรอบเป็นเนินดินสูงมีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ล้อมรอบด้วยคลองสองชั้นมีสะพานข้ามและมีทางเข้าออกทางเดียว ชาวอำเภอชุมแพ เรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า "กู่” ก่อนจะไปถึงกู่จะมีรูปพระนอนสลักลงบนหิน ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นวัดป่า
   
เมื่อปี พ.ศ.2498 ประมาณเดือน 4 ได้มีคนแก่มากราบเรียนท่านเจ้าคุณ พระราชสารธรรมมุนี(หลวงพ่อกัณหา) เจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น วัดศรีนวล เล่าว่ามีอยู่วันหนึ่งเขาได้ไปนอนพักที่โรงนาฝันประหลาดว่าเห็นคนแก่นุ่งห่มชุดขาวบ่นว่า "อยากจะไปอยู่ในเมือง” คืนที่สองฝันอีกว่า "อยากจะไปอยู่ในเมือง” และพูดต่อว่า "อยากจะไปอยู่เป็นมิ่งขวัญของเมือง” พอคืนที่สามก็ได้ฝันลักษณะเดิมอีก จากนั้นพอตื่นขึ้นก็รู้สึกว่าร้อนรนอยู่ไม่ได้นอนไม่ได้ ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร ก็เลยเดินทางเข้าในเมืองมาเล่าความฝันให้ท่านเจ้าคุณฟัง และท่านเจ้าคุณได้ถามว่า "ลักษณะตรงนั้นเป็นอย่างไร” คนแก่ตอบว่า "ลักษณะตรงนั้นเป็นกู่เก่า มีป่าขนาดใหญ่ ต้นไม้ขึ้นหนาทึบมีเสาหิน และใบเสมาเป็นจำนวนมาก” ท่านเจ้าคุณก็เลยออกปากว่า "ถ้าเป็นมิ่งเป็นขวัญของเมือง ก็ต้องเป็นหลักเมือง” ประกอบว่าจังหวัดขอนแก่นยังไม่มีหลักเมือง ท่านเจ้าคุณจึงเรียนให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น คือ หลวงพินิจ และได้มอบหมายให้ฝ่ายพระมหาสุคนธ์ พระอีกจำนวนหนึ่งพร้อมปลัดจังหวัดไปอัญเชิญหลักเมืองออกมาจากกู่ และเกิดอาเพศฝนตกหนัก มีฟ้าผ่าลงมาโดนเสาหลักเมือง (ปัจจุบันเป็นเสาหลักเมืองอำเภอชุมแพ) รถเกิดติดหลุ่มไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ ก็เลยปรึกษากันว่า "เฮาเป็นผู้น้อย ผู้ใหญ่บ่ได้มาเพิ่นเลยบ่ไป” และได้อัญเชิญหลักเมืองลงไว้ที่วัดพระนอน แล้วกลับมาเล่าเหตุการณ์ให้ท่านเจ้าคุณฟัง ท่านเจ้าคุณเลยไปอัญเชิญด้วยตัวเองได้นำหมอลำ หนัง มาฉลองที่วัดพระนอนหนึ่งคืน แล้วค่อยอัญเชิญออกมา สี่หลักหลักที่หนึ่งอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น หลักที่สองอยู่ที่ศาลหลักเมืองอำเภอชุมแพ ส่วนสองหลักที่เหลืออยู่ที่หน้าโบสถ์วัดศรีนวลจังหวัดขอนแก่น
ลักษณะหลักเมืองเป็นเสาหินทราย รูปทรง 8 เหลี่ยม สูงประมาณ 3 เมตร มีลายสลักตัวหนังสือขอม
  
พิธีตั้งเสาหลักเมือง นิมนต์พระมาสวดยกตั้งตามแบบพิธีพุทธ ณ ที่สนามศาลาสุขใจ ท่านเจ้าคุณได้ตั้งชื่อว่า "ศาลเทพารักษ์หลักเมือง” มีนามย่อว่า "อินทร์ตา” การก่อสร้างได้ร่วมกันสร้างทั้งคนจีนและคนไทย นอกจากนี้ได้อัญเชิญอากงอาม่าอยู่รวมกันกับหลักเมือง คนจีนเรียกว่า "ศาลหลักเมืองกง” คนไทยเรียกว่า "ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” คำบอกเล่านี้ได้จากคุณพ่อจารย์นนท์ ขณะนั้นเป็นมรรคนายกวัดศรีนวล หลังจากได้ก่อสร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเสร็จเรียบร้อย ท่านเจ้าคุณได้แต่งตั้งให้ คุณพ่อจารย์นนท์ เป็นผู้ดูแลรักษาศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สืบทอดจนมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน คือ นายสมพงษ์ พูลพุทธา
 
แผนที่ 
เส้นทางมาจากกรุงเทพเพื่อเข้าเมืองเมื่อเลี้ยวขวาเข้าตัวเมือง ผ่านประตูเมืองท่านจะเจอกับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองขอนแก่น แห่งนี้ ตั้งอยู่ทางด้านขวามือ
ที่ตั้ง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น ถนนศรีจันทร์ ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น ขอนแก่น 40000
https://g.co/kgs/iMUx4q

 








เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS