กรมป่าไม้เตรียมทวงคืนป่าอีสาน 7 ล้านไร่ พร้อมดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบ   


23 กรกฎาคม 60 20:38:02

นายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมคณะที่เป็นตัวแทนแก้ปัญหายึดคืนผืนป่าในภาคอีสาน ได้มาที่สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 (ขอนแก่น) ถ.ศูนย์ราชการ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เนื่องจากได้มีประชาชนส่วนหนึ่งที่พบกับปัญหารัฐบาลได้ทวงคืนผืนป่า กระทบกับความเดือดร้อนของประชาชนโดยส่วนรวมในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน มารวมตัวที่ จ.ขอนแก่น จึงต้องมาทำความเข้าใจให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนรับทราบเพื่อหาทางแก้ปัญหาให้เป็นไปด้วยความถูกต้องตามกฎหมาย

นายชลธิศ กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้บังคับ ใช้กฎหมายกับกลุ่มนายทุนที่มาทำธุรกิจเชิงพาณิชย์ในพื้นที่ดินของป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่กระทบกับผู้ยากไร้หรือผู้ไร้ที่ทำกินในพื้นที่ป่าสงวน ภายใต้การดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมาแก้ปัญหาที่ จ.ขอนแก่น ที่มีประชาชนที่มีปัญหาดังกล่าวมาขอคำปรึกษาและให้รัฐบาลแก้ไขตามข้อเรียกร้องหลายกรณี เช่น ผู้อยู่อาศัยในเขตอุทยานแห่งชาติ ผู้อยู่อาศัยและทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ออป. วันนี้จึงเป็นการมารับทราบปัญหา พร้อมทำความเข้าใจกับประชาชนที่เดือดร้อน และทางผู้เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหานายทุนบุกรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติ ในเขตพื้นที่ภาคอีสานภายในไม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

นโยบายทวงคืนผืนป่าสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทวงคืนจากนายทุนที่ทำธุรกิจเชิงพาณิชย์ทั่วประเทศ รัฐบาลดำเนินการทวงคืนมาได้แล้วประมาณ 500,000 ไร่ ที่เป็นพื้นที่รีสอร์ตหรือ บ้านพักตากอากาศ จำนวน 2,000 แห่ง ได้ดำเนินคดีไปแล้วมากกว่า 200 แห่ง  นอกจากนี้รัฐบาลได้ดูแลผู้ยากไร้ โดยได้จัดที่ดินทำกินในพื้นที่ลุ่มน้ำ 3–4–5 ให้กับประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัยได้มากกว่า 700,000 ไร่ หรือ 7 แสนราย ในโครงการ คสช. 58 จังหวัด

โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานที่มีปัญหาในพื้นที่ดินของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อุทยานแห่งชาติไทรทอง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาที่ดินของรัฐได้มาพบประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อขอทราบปัญหาของผู้เดือดร้อนในที่ดินดังกล่าวแต่ละรายว่ามีรายละเอียดอย่างไร โดยไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนในที่ดินทำกิน หรือที่อยู่อาศัย แต่ถ้าเป็นนายทุนมาดำเนินการในเชิงพาณิชย์ในพื้นที่ดินป่าสงวน หรืออุทยานแห่งชาติ จะต้องดำเนินการเอาผิดทางกฎหมาย โดยยึดคืนมาเป็นของรัฐทุกราย ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมป่าไม้มีพื้นที่ป่าต้องดูแล 10 ล้านไร่ มีสภาพเป็นป่า 3 ล้านไร่ ส่วนอีก 7 ล้านไร่พื้นที่ที่เป็นป่าเปลี่ยนไป รัฐต้องดำเนินการทวงคืนให้กลับมาเป็นของรัฐให้มากที่สุด โดยเฉพาะ จ.เลย ที่มีการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติในรูปแบบนายทุนเข้ามาทำประโยชน์ในเชิงธุรกิจ เช่น สวนยางพารามีปลูกถึง 480,000 ไร่  มีกลุ่มนายทุนที่ไม่ใช่คนในพื้นที่ จ.เลย เข้ามาดำเนินการปลูกยางพารา การตรวจสอบต้องรีบดำเนินการคัดกรองคนร่วมกับผู้นำในหมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น และมีนายอำเภอในพื้นที่นั้นเข้ามาร่วมดำเนินการคัดกรองด้วยว่าคนที่ทำถูกต้องใช่คนในพื้นที่หรือไม่ มีเอกสารยืนยันทางราชการหรือไม่.

ขอขอบคุณภาพและข่าว

ศูนย์ข่าวทานตะวันขอนแก่น







เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS