"อภิชัย เรืองศิริปิยะกุล" ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นแผ่นพับที่ระลึกงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ3มิติ ชาวขอนแก่น   


4 สิงหาคม 61 12:43:24


 

นักพัฒนาเออาร์ (AR) ใช้เทคโนโลยีสามมิติเล่าพระราชกรณียกิจในหลวงรัชการที่ ๙ ผ่านแผ่นพับที่ระลึกฯ ชี้เป็นครั้งแรกใช้เทคโนโลยีทำให้คนไทยบันทึกประวัติศาสตร์ไว้ในความทรงจำ

วันนี้หลายคนคงรู้จักชื่อ "นายอภิชัย เรืองศิริปิยะกุล" ในฐานะผู้พัฒนาเทคโนโลยีสร้างภาพเสมือนจริงแบบสามมิติ หรือ Augmented Reality (AR) ที่สร้างแผ่นพับที่ระลึก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  เขาเป็นชาวจังหวัดขอนแก่น สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน  ปริญญาตรี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ซึ่งเช้าวันนี้(27 ต.ค.) พบว่าอันดับแอพดาวน์โหลดยอดนิยมใน App Store ประเทศไทย แอพ ARZIO ได้ขึ้นอันดับ 1 ในกลุ่มแอพฟรีแล้ว
โดยผู้ที่เข้าร่วมถวายความอาลัยวางดอกไม้จันทน์ในสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศเมื่อวานนี้ จะได้รับแผ่นพับที่ระลึกพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแอพ ARZIO (iOS  และ Android) เมื่อนำสมาร์ทโฟนมาส่องบนแผ่นพับในภาพต่างๆ ก็จะมีเนื้อหาต่างๆ ปรากฏขึ้น รวมทั้ง AR ของพระเมรุมาศจำลอง 3 มิติ  เนื่องจากในแผ่นพับไม่ได้พูดถึงคุณสมบัติดังกล่าว จึงอาจมีหลายคนที่ไม่ทราบ ผู้ที่ได้รับแผ่นพับจากพระราชพิธีก็สามารถดาวน์โหลดแอพนี้เพื่อชมเนื้อหากันดูได้

นายอภิชัย เรืองศิริปิยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโอเอส คอร์เปอเรชั่น อนุกรรมการจัดทำแผ่นพับที่ระลึก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า ในพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่26 ตุลาคม นอกจากประชาชนชาวไทยจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีแล้วการเก็บความทรงจำในพระราชพิธีสำคัญครั้งนี้ไว้เป็นที่ระลึกครั้งหนึ่งในชีวิตเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนล้วนต้องการอยากจะมีเก็บไว้ กระทรวงวัฒนธรรมโดย ได้มอบให้ ดร.ยอดขวัญ สวัสดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะมัฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ออกแบบแผ่นพับที่ระลึก โดยการจัดทำแผ่นพับที่ระลึกงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ครั้งนี้แตกต่างจากการทำแผ่นพับปรกติ เพราะเป็นครั้งแรกที่ใช้เทคโนโลยีสร้างภาพเสมือนจริงแบบสามมิติ หรือ Augmented Reality (AR) เพื่อนำเสนอเนื้อหาพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและรายละเอียดของพระราชพิธีลงบนแผ่นพับเพื่อให้ประชาชนที่ได้รับสามารถดูข้อมูลในรูปแบบสามมิติแตกต่างจากการอ่านหรือชมภาพผ่านกระดาษเดียวอย่างเดียว


  
“ครั้งแรกที่อาจารย์ได้กรุณาโทรศัพท์ติดต่อมาได้ตอบรับที่จะทำถวายในหลวงรัชกาลที่เก้าทันทีแบบไม่ต้องคิดอะไรเป็นความรู้สึกที่สุดจะบรรยาย ทั้งครองครัวและตัวผมเองดีใจจนร้องไห้ ที่ได้ทำงานถวายแม้จะเป็นงานเล็กๆ ก็ตาม เราทำงานกัน 4 คน ด้วยการออกแบบแล้วปั้นโมเดลขึ้นมาจากนั้นไปดูสถานที่จริงแล้วจำลองออกแบบเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการรับชมให้เป็นภาพสามมิติ งานครั้งนี้ใช้เวลา 3 สัปดาห์ทำขึ้นมาจนสำเร็จ ” นายอภิชัย กล่าว 
 
แผ่นพับที่ประชาชนได้รับในการไปถวายดอกไม้จันทน์ ณ ซุ้มวางดอกไม้จันทน์ทั่วประเทศและต่างประเทศผู้ได้รับแผ่นพับสามารถเข้าถึงเนื้อหาในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนผ่านเทคโนโลยีสามมิติโดยดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นARZIO (เอ-อาร์- ซิ-โอ้) หลังแล้วตั้งแต่วันนี้ โดยสามารถดาวน์โหลดลงไปบนโทรศัพท์มือถือหรือแทปเลต ทั้งระบบปฎิบัติการไอโอเอสและแอนดรอยจากนั้นเปิดแอพพลิเคชั่นแล้วส่องลงบนแผ่นพับด้านหน้าจะปรากฎเนื้อหาทั้งภาพถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์ที่เล่าเรื่องราวพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อกลับด้านส่องไปที่แผนผังพระเมรุมาศจะปรากฏรูปพระเมรุมาศสามมิติ 360 องศา พร้อมเสียงขับทำนองเสนาะเฉลิมพระเกียรติ 


   
นี่คือสิ่งแทนความทรงจำที่เป็นมากกว่าข้อความและภาพแต่เป็นการเข้าถึงเหตุการณ์สำคัญที่สามารถเข้าถึงและประทับใจกับเรื่องราวที่คนไทยไม่อาจลืมจะเก็บไว้ดูอีกนานเพียงใดก็ได้ก็จะได้รับทราบข้อมูลและความรู้สึกนี้ตลอดไปแผ่นพับที่ระลึกจัดพิมพ์จำนวนสิบล้านแผ่น แบ่งเป็น 3 ชุดสองชุดแรกและชุดที่สองเสนอพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในภาษาไทยและภาษาอังกฤษชุดที่สามจะออกหลังพระราชพิธีนำเสนอเรื่องราวรายละเอียดของพระเมรุมาศอาคารประกอบพระเมรุมาศ ราชรถและปฎิมากรรมประดับพระเมรุมาศ

ท่านที่ไม่ได้รับแจกแผ่นพับฯสามารถ ดาวน์โหลด แผ่นพับที่ระลึก 3 มิติ พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร.9  แล้วใช้แอพพลิเคชั่น #ARZIO สแกนเพื่อดูภาพ 3 มิติ แบบเดียวกับสแกนในแผ่นพับที่เป็นกระดาษได้ครับ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)

 


อภิชัย เรืองศิริปิยะกุล


ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก
สำนักข่าวไทย, Blognone, Facebook ARZIOs

 







เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS