มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันงดงามแม้ในยามโควิด ในงานประเพณีลอยกระทง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2564 ในวันศุกร์ ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ณ บึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พบกับ
- พิธีสักการะหลวงพ่อพระศรี 50 ปี มข.
- พิธีสักการะหลวงพ่อไทรขาว
- พิธีสักการะนาค 15 ตระกูล
- พิธีสมมาบูชาน้ำ
- ขบวนแห่ขันหมากเบ็ง
- ถนนสร้างสรรค์ (Creative Walking Street)
ทั้งนี้ ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่หรือประเพณีสิบสองเดือนที่ชาวไทยยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน ประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่งในฮีตสิบสองคองสิบสี่ คือ ประเพณีลอยกระทง นิยมที่จัดขึ้นในวันขึ้นสิบห้าค่ำ วันเพ็ญเดือนสิบสอง
โดยมีความเชื่อกันว่าการจัดประเพณีนี้เป็นการขอขมาพระแม่น้ำคงคาและเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์ที่เชื่อกันว่าจำพรรษาอยู่ใต้มหาสมุทรมาร่วมในพิธีกรรมด้วย
ประเพณีลอยกระทงเป็นทั้งประเพณีของไทยภาคกลางและเป็นทั้งประเพณีของคนไทยในแต่ละท้องถิ่น ในแต่ละภาคต่างมีวิถีการปฏิบัติและวิถีความเชื่อที่แตกต่างกันไป
สำหรับในภาคอีสานนั้น ชาวอีสานจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเนื่องจากมีความเชื่อเรื่องการบูชาและขอขมาน้ำ หรือการบูชาพระแม่คงคาเช่นเดียวกันชาวภาคกลาง บูชาสมมาน้ำ คือ การขอขมาน้ำ คืนวันเพ็ญและประทีป เนื่องจากได้ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังได้อัญเชิญ พระอุปคุตมาร่วมในพิธีกรรมด้วย
ด้วยวัฒนธรรมดังกล่าวทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นกำหนดจัดงาน ขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามวิถีอีสานให้คงอยู่ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนได้ระลึกถึงบุญคุณของน้ำและเป็นการขอขมาน้ำ โดยการจัดงานครั้งนี้ได้เน้นการส่งเสริมวัฒนธรรมอีสานและวัฒนธรรมร่วมสมัย
โดยได้กำหนดให้มีกิจกรรม พิธีสักการะหลวงพ่อพระศรี 50 ปี มข. พิธีสักการะหลวงพ่อไทรขาว พิธีสักการะนาค 15 ตระกูล พิธีสมมาบูชาน้ำ ขบวนแห่ขันหมากเบ็ง กิจกรรมถนนสร้างสรรค์ (Creative Walking Street)เพื่อเป็นการรักษาสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมอันดีงาม ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม จึงกำหนดจัดกิจกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมแม้ยามวิกฤตภัยโควิด (งานประเพณีลอยกระทง ) ประจำปี 2564 อันเป็นอีกหนึ่งงานประเพณียิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดขอนแก่นให้คงอยู่สืบไป