เงิน อ่อนได้ แข็งได้ (เศรษฐกิจ ฉบับ ชาวบ้าน ตอนที่ 3/4)   


18 กุมภาพันธ์ 64 08:33:22

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา”

โดย “น้องดอกคูน”

….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน  เหลืองสะพรั่งของดอกคูน และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….

     พาดหัว ให้คิดมากกันอีกแหละ….”เงิน”  เป็นของแทนค่าของสินค้า เมื่อพูดถึง “เงิน” ใครๆก็อยากได้ ใช่ไหม…

     มารู้จัก เรื่องของ “ค่าเงิน ด้วยเศรษฐกิจ ฉบับ ชาวบ้าน ตอนที่ 4 กันเถอะ……

     ในยุคที่ การค้าขาย ใช้วิธี “ของแลกของ”  หรือ Barter System  ไก่ 10 ตัว อาจแลก หมู ได้ 1 ตัว ต่างก็ยอมรับกันได้

     ต่อมา เริ่มมี “เงิน” ซึ่งอาจแทนค่าด้วย หิน หอย เหรียญ  และมีการกำหนดค่า เช่น ไก่ 1 ตัว ต้องใช้ 20 เหรียญ หมูต้องใช้ 50 เหรียญ เป็นต้น

     ต่อมา ค้าขายภายในบ้าน ในประเทศตัวเอง ข้ามภาค พัฒนาเป็นข้ามประเทศ คราวนี้แต่ละประเทศ ก็เริ่มมีเงิน สกุล ของตัวเอง โดยมีการเจรจาการค่า การต่อรอง การได้เปรียบ เสียเปรียบ สภาพเศรษฐกิจ ของแต่ละประเทศ มาเป็นปัจจัยในการกำหนดค่าเงินสกุลของแต่ละประเทศ ข้ามสกุลกันไปมา และมีเงินสกุลที่เป็นศูนย์กลาง ให้ ” อิงค่า

     ปัจจุบัน เงินสกุลหลักของโลก คือ “ดอลล่าร์” ของสหรัฐอเมริกา ซึ่ง พบว่า “หยวน” ของจีน ขึ้นมารุ่ง พุ่งขนาบ ขอเป็นเบอร์หนึ่งบ้าง จากความแข็งแกร่งของศรษฐกิจ  และจำนวนประชากรที่มากที่สุดในโลก

     ค่า “เงินบาท” ของไทยเรา จึงเป็นอีกหนึ่งที่ไปผูกพ่วงกับ “ดอลล่าร์”  ขณะนี้ อัตราแลกเปลี่ยน อยู่ที่ราว 30-32 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์

     ย้อนเวลา ไปเมื่อคราวที่ไทยเราเกิดภาวะ “ฟองสบู่แตก”  ปี 2540 หรือปี คศ.1997 ค่าเงินบาทอ่อน หย่อนตกลงไปถึง เกือบ 60 บาท แลกได้ 1 ดอลล่าร์ แบบนี้ เรียกว่า “เงินบาทอ่อนค่า

     “เงินบาทอ่อนค่า” หมายถึง ต้องใช้เงินบาทมากขึ้น ที่จะไปแลก ได้ 1ดอลล่าร์

      “เงินบาทอ่อนค่า” จะส่งผลดี กับ ผู้ส่งออกสินค้า เพราะ แลกได้เงินบาท มากขึ้น

     “เงินบาทอ่อนค่า” จะส่งผลเสีย กับ ผู้นำเข้า เพราะต้องใช้เงินไปซื้อสินค้า มากขึ้น แต่ได้สินค้าเท่าเดิม หรืออาจเป็นหนี้มากขึ้น เหมือนคราวยุคฟองสบู่แตก สิ่งที่ป้องกันได้ คือ การซื้อประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน

     แต่พบว่า ปัจจุบัน “ค่าเงินบาทแข็ง” จึงสะท้อนว่า เศรษฐกิจ โดยภาพรวมของบ้านเรา ยังแข็งแกร่ง (แม้เราอาจ เถียงในใจว่า ค้าขายฝืด ก็เถอะ ขอให้มองภาพรวมของประเทศกันนะ)

     ท่ามกลาง ความยากลำบาก ในการประคองภาวะเศรษฐกิจ กับ การมาตรการป้องกันโควิด-19  จึงเป็นที่เข้าใจกันว่า ต้องรับมือ ต้องให้ความร่วมมือ ต้องหาโอกาสใหม่ๆ  ทุกวิกฤต ย่อมมีโอกาสเสมอ

     ค่าเงินบาท จึง อ่อนได้ แข็งได้  อ่อนดีกับใคร แข็งดีกับใคร … รู้กันแล้วนะ….

บันทึก : ค่าเงินบาท อ่อน-แข็ง  ใครได้ ใครเสีย  อ่านต่อได้ จาก ภาพประกอบ








หวยเด็ดงวดนี้
  • ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
    16 มี.ค. 2567
  • รางวัลที่ 1 997626
  • รางวัลเลขหน้า 3 ตัว 571 509
  • รางวัลเลขท้าย 3 ตัว 794 329
  • รางวัลเลขท้าย 2 ตัว 78
เรื่องอื่นๆในหมวด

เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS