ขอนแก่น ขุดพบวัตถุโบราณ นักโบราณคดียืนยันพบหลายยุค เก่าแก่สุดเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ (มีคลิป)   


28 พฤศจิกายน 61 11:01:49

คนงานก่อสร้างขุดหลุมฝังเสาพบวัตถุโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยทราวดีอายุราว 800 ปี อยู่ใกล้กับกำแพงคูเมืองเก่า ห่างจากบริเวณที่ขุดพบก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้วเพียง 200 เมตร

นายสมหมาย  เลิศนา ผอ.ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น ถนนศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า คนงานที่ตนจ้างมาทำการก่อสร้างอาคารโรงครัวบริเวณด้านหลังของที่ทำการศูนย์วิจัย ได้ขุดพบวัตถุโบราณ ขณะทำการหลุมฝังเสา หลังจากที่ขุดหลุมลึกลงไปได้ประมาณ 50 ซม. ตนจึงสั่งให้หยุดไว้ก่อน แล้วรีบแจ้งไปยังสำนักกรมศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น เพื่อให้มาทำการตรวจสอบ เพื่อเป็นแหล่งศึกษา เนื่องจากตนทราบดีอยู่แล้วว่าบริเวณดังกล่าวเป็นเมืองเก่าเป็นที่อยู่อาศัยของคนโบราณที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน เพราะมีกำแพงเมืองเก่าที่เป็นเนินดินมีคลองน้ำล้อมรอบ ประกอบกับเมื่อปีที่ผ่านมาทางกรมศิลปากรที่8 ก็ยังได้ค้นพบวัตถุโบราณหลายอย่าง อยู่ห่างจากที่ขุดพบแห่งใหม่นี้เพียง 200 เมตรเท่านั้น

ฮือฮา! พบเศียรพระพุทธรูปโบราณอายุกว่า 2,500 ปี กลางเมืองขอนแก่น 

นายสมหมาย  เลิศนา ผอ.ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น นายสมหมาย  เลิศนา ผอ.ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น 

ทางด้าน นางสาว ทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น กล่าวว่า บริเวณนี้เป็น พื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองโบราณศรีฐาน เป็นชุมชนโบราณที่มีลักษณะเป็นเนินดิน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบลักษณะค่อนข้างกลม สิ่งที่ขุดพบจะเป็นวัตถุโบราณก่อนสมัยประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยทราวดี สมัยลพบุรี และสมัยล้านช้าง เพราะฉะนั้นสิ่งของโบราณที่ขุดค้นพบ ณจุดนี้ จึงมีหลายสมัย หลังจากที่ได้รับแจ้งจากทางศูนย์วิจัยข้าวว่าขุดพบวัตถุสิ่งของโบราณ ทางสำนักศิลปากรที่ 8 จึงเข้ามาขุดค้นเพื่อกู้แหล่ง และศึกษาด้วย ตรงที่ขุดพบนี้จะอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโบราณ ซึ่งจะอยู่ใกล้แนวคูเมืองโบราณ ซึ่งบริเวณนี้จะเป็นทรายเนินสโลป ซึ่งถือว่าเป็นชัยภูมิที่ดีของที่อยู่อาศัยของคนโบราณ ซึ่งต้องอยู่ติดกับแหล่งน้ำ ธรรมชาติ จึงเป็นที่เหมาะที่จะอยู่อาศัย เพราะ

นางสาว ทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น นางสาว ทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น 

ฉะนั้นจึงน่าจะพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คร่าวๆ ที่เห็นอยู่ในขณะนี้จะเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน  เครื่องถ้วยเขมร เครื่องถ้วยลพบุรี เป็นกลุ่มของเครื่องถ้วยเนื้อแข็ง ค่อนข้างแกร่ง เคลือบด้วยสีดำ พบเครื่องถ้วยของจีนสมัยราชวงศ์หยวน อายุประมาณ 800 ปี ซึ่งก็เป็นลักษณะที่พบทั่วไปตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยทราวดี โดยทาง เจ้าหน้าที่จะช่วยกันขุดเปิดหน้าดินลึกลงพอสมควร จนกว่าจะแน่นใจว่าจะไม่มีวุตถุโบราณหลงเหลืออยู่อีก จึงจะทำการปิดหน้าดินให้คงเดิม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง ฮือฮา! พบเศียรพระพุทธรูปโบราณอายุกว่า 2,500 ปี กลางเมืองขอนแก่น 







เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS