คอลัมน์ “ รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
มนุษย์อยู่กับธรรมชาติ และต้องปรับตัวเข้ากับธรรมชาตินั้นๆ เพื่อดำรงพันธุ์ เป็นการอยู่รอด ที่เรียนรู้กันได้ ไม่เช่นนั้น ต้องสูญพันธุ์ เช่นเดียวกับสัตว์โบราณ บางชนิดที่เราต้อง ไปเยี่ยมชม พวกเขาในพิพิธภัณฑ์ ไงล่ะ….
พูดกันแบบ ไม่ได้มองโลกสวย และ ไม่ได้ อวยใคร… ผลย่อมเกิดจากเหตุ ฝนตกต้องไม่เป็นไปตามฤดูกาล ส่วนหนึ่ง หรือส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ธรรมชาติ เพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็น ตามสมดุล แห่งธรรมชาติ
แม้จะมีการเรียนรู้ วิธ๊การเอาตัวรอด ให้อยู่กับธรรมชาติ แต่สิ่งเร้าของโลกทุนนิยม และมุมรักสบาย ของมนุษย์ จิตไม่มั่นคงพอ ย่อมตกเป็นเหยื่อแห่งกิเลส และ หลงระเริงไปกับสิ่งเร้านั้น เพราะมันคือ ความสุข ที่มุนษย์เสพติด ไปซะแล้ว
พูดไปก็เหมือนเป็นการ บ่น…บ่น… แต่หากเราลองหยุดคิด ในยามเผชิญทุกข์ภัย ทางธรรมชาติ เครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ อาทิ หน่วยงานการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีภารกิจ เป็นงานหลัก ก็จะเข้ามาช่วยในทันที โดยไม่มีข้อแม้ ไม่มีเงื่อนไข ด้วยว่า มีเครื่องมือ มีกำลังเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ช่วยเหลือทันที ลองคิดย้อนดูนะ ยามมี น้ำท่วม หรือภัยต่างๆ ว่า เราร้องขอ รอใครมาช่วยเหลือ อาจช้าบ้าง เร็วบ้าง ทันใจบ้าน ไม่ได้ดั่งใจบ้าง ขอให้เข้าใจกัน
จากนั้น อาจตามมาด้วย น้ำใจ จากทั่วไทย ทั่วโลก หากเหตุการณ์ ลุกลามบานปลาย แต่เราก็ภาวนากันว่า ขอเหตุเล็กๆ หรือ ไม่เกิดจะดีกว่า นะ จริงไหม และอีกหลายมุมที่ช่วยเสริมกันได้ ย่อมเป็น การมองกระจก ที่อยู่เบื้องหน้าของแต่ละคน ว่า มีน้ำใจหลั่งไหล มา เพียง…. เราอาจไม่เคยใส่ใจ.. เที่ยว บ่น บ่น เท่านั้นเอง
เอานะ….ตั้งสติ ทำใจนิ่งๆ มาเล่าสู่กัน…..
พื้นที่ ทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งของภาคอีสาน เป็นที่ราบสูง เทลาด ลงไปทางตะวันออก ดังนั้นการไหลของน้ำ ที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำคือ ไหล ลงสู่แม่น้ำโขง
ดินที่เป็นดินทราย ไม่รับ ไม่อุ้มน้ำ จึงเป็นเสมือนการไหลผ่านของน้ำ การเอ่อ ขังท่วม เหมือนพื้นที่ ที่เป็นแอ่งกระทะ จึง ไม่เกิดกับพื้นที่ ที่มีลักษณะเช่นนี้ ของภาคอีสาน ของเฮา เด้อ..
สภาพธรรมชาติ จึง เป็นการ ท่วมเร็ว ไม่ขัง ไหลลงสู่ที่ต่ำ….สบายใจขึ้นไหม….
ฝน …เกิดจากธรรมชาติ พายุ หลายลูก ที่อาจมาติดๆ ตามฤดูกาล หนักบ้าง เบาบ้าง ตามสภาพ เมื่อเข้าใจ ปรับตัวแบบเข้าใจ อดทน ช่วยเหลือ ซึ่งซึ่งกันและกัน ความทุกข์ใจน้อยลง ความสุขอยู่กับใจเปี่ยมๆ และเดินหน้าพัฒนา กอบกู้บ้านเมือง กันต่อไป
พายุ กี่ลูก กี่ลูก ก็พ่ายน้ำใจล่ะ…
หลายคน ยังอาจทุกข์ใจ ว่า โควิด-19 ยังไม่จาง น้ำท่วมอีกแหละ นี่ไง…ชีวิตที่ต้องปรับตัวกับธรรมชาติ
พูด คิดแบบคนอารมณ์ดี….น้ำท่วม ยังดีกว่า ฝนแล้ง หรือ บางคนอาจขัดใจ ไม่เอาทั้งคู่…แต่เมื่อชีวิต เลือกไม่ได้ ก็ต้องอยู่ให้ได้ และ “เอาอยู่” เด้อ ……
#โควิด-19 กี่รอบ กี่รอบ
เราจะรอดปด้วยกัน
Leave a Response