อธิบดีกรมปศุสัตว์คิกออฟฉีดวัคซีนป้องกันลัมปีสกิน ที่จังหวัดขอนแก่น (มีคลิป)

2

อธิบดีกรมปศุสัตว์ คิกออฟเร่งให้ยาและฉีดวัคซีนวัว ควาย กระบือเกษตรกรผู้เลี้ยงชาวจังหวัดขอนแก่น ด้านเกษตรกรมีมั่นใจสัตว์ที่เลี้ยงจะต้องหายจากโรคร้าย

        เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 10 มิถุนายน 2564 ที่อบต.โคกสูง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกิน โดยมีรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และรองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ กว่า 100คน มาร่วมกิจกรรม และรับเวชภัณฑ์ เพื่อรักษาโรคลัมปีสกินในโค กระบือในครั้งนี้ด้วย

        นายชาญประเสริฐ พลซา ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงสถานการณ์โรคลัมปีสกินในโค กระบือ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นว่า จังหวัดขอนแก่นมีเกษตรจังหวัดขอนแก่นมีเกษตรกร จำนวน 12,463 ราย โคเนื้อจำนวน 234,480 ตัว โคนม จำนวน 34,570 ตัว และกระบือ จำนวน 39,081 ตัว พบการระบาดของโรคลัมปี สกิน ครั้งแรกในโคเนื้อจำนวน 4 ตัว เมื่อ วันที่ 2 เมษายน 2564 ที่อำเภอบ้านฝาง สำนักงานปศุสัตว์อำเภอบ้านฝาง ได้ออกประกาศ เรื่องกำหนดโรคระบาดสัตว์ชั่วคราว ชนิดโรคลัมปีสกินในโค กระบือ ณ วันที่ 24 เมษายน 2564 จากนั้นการระบาดมีแนวโน้มระบาดเป็นวงกว้างแพร่กระจายเพิ่มขึ้นในหลายอำเภอ จังหวัดขอนแก่น จึงได้ประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง กำหนดเขตโรคระบาดสัตว์ ชนิดโรคลัมปี สกิน ในโค กระบือ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2564

ในขณะเดียวกันจังหวัดขอนแก่นได้ดำเนินการควบคุมโรค และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคลัมปี สกิน โดยดำเนินการตาม 5 มาตรการ คือ
        1.ควบคุมการเคลื่อนย้ายโค กระบือ จังหวัดขอนแก่นได้ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือในทุกพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เกี่ยวกับโรคล้มปี สกิน และขอความร่วมมือในการห้ามการเคลื่อนย้ายโค กระบือ ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการตลาดนัดค้าสัตว์(โค กระบือ) ชะลอการค้าในตลาดนัดค้าสัตว์โค กระบือ เป็นการชั่วคราว หรือจนกว่าสถานการณ์การเกิดโรคจะสงบลง
        2.การเฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด โดยเครือข่ายอาสาปศุสัตว์ประจำหมู่บ้าน ซึ่งจังหวัดขอนแก่นมีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 2,011 หมู่บ้าน มีอาสาปศุสัตว์ทุกหมู่บ้าน จำนวนทั้งสิ้น 2,179 คน ซึ่งหากเกษตรกรพบโค กระบือป่วย มีอาการ มีไข้ซึม เบื่ออาหาร เกิดตุ่มตามผิวหนัง บริเวณหัวคอ ขา ลำตัว ให้แจ้งอาสาปศุสัตว์ในพื้นที่ หรือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปศุสัตว์อำเภอหรือแจ้งโดยตรงที่ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น
        3.การป้องกันและกำจัดแมลงนำโรค โดยบูรณาการร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการแนะนำเกษตรกรกางมุ้งที่คอกโค กระบือ, ใช้หลอดไฟไล่แมลง, การหยดยาฆ่าแมลง หรือ พ่นสารกำจัดแมลงที่ตัวสัตว์, ขอความร่วมมือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพ่นสารกำจัดแมลงภายในหมู่บ้านที่เกิดโรค ในทุกพื้นที่ จำนวน 224 แห่ง และได้ประสานขอสนับสนุนเวชภัณฑ์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดในการป้องกัน ควบคุม การแพร่ระบาดของโรคลัมปีสกิน
        4.ดำเนินการรักษาพยาบาลสัตว์ป่วย โดยสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอ จัดหน่วยรักษาพยาบาลเคลื่อนที่ ออกให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย! และเน้นย้ำสร้างการรับรู้โรคลัมปี สกิน “รักษาหาย เนื้อกินได้ ไม่ติดคน
        5.ดำเนินการฉีดวัคนควบคุมโรคลัมปี สกิน จังหวัดขอนแก่นมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคลัมปี สกินให้แก่โค กระบือ ทั้ง 26 อำเภอของจังหวัดขอนแก่น

        ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของ โรคลัมปี สกิน พบการระบาดในพื้นที่ทั้งสิ้นจำนวน 25 อำเภอ จำนวนสัตว์ป่วยรวมทั้งสิ้น 2,073 ตัว ได้แก่ โคเนื้อ จำนวน 2,032 ตัว โคนม จำนวน 31 ตัว และกระบือ จำนวน 10 ตัว จำนวนสัตว์ตาย 95ตัว (ยกเว้นอำเภอหนองนาคำยังไม่มีรายงานการพบโรค)

        ทางด้าน นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่าเนื่องจากโรคสัมปี สกิน เป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เกิดจากเชื้อไวรัส (Capripoxvirus) และเป็นโรคระบาดสัตว์ตามพรบ.โรคระบาดสัตว์ 2558 มีการระบาดในโค-กระบือ ไม่ติดคน มีแมลงดูดเลือด ยุง เห็บ เหลือบ แมลงวันเป็นพาหะ จึงพบว่ามีการระบาดที่รวดเร็วและเป็นวงกว้าง โค-กระบือที่เป็นโรคลัมปี-สกิน จะพบอัตราการป่วย 5-45% อัตราการตายน้อยกว่า 10% โคที่มีอายุน้อยจะมีอัตราการตายสูงกว่าโคอายุมาก

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์

        ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมโรคที่เร่งด่วนและให้ทันกับสถานการณ์ของการระบาด กรมปศุสัตว์ จึงนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน จากต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ในการควบคุมโรคลัมปี สกิน สำหรับ โค กระบือ ในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 60,000 โดส ซึ่งเป็นวัคซีนชุดแรกที่นำเข้าเพื่อมาป้องโรคระบาดที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และเร่งแก้ไขปัญหาการควบคุมโรคที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัด วัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกินเป็นวัคซีนเชื้อเป็น การใช้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคฯ จึงต้องมีมาตรการที่รัดกุม โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาให้วัคซีนจะพิจารณาพื้นที่ที่ไม่เกิดโรคเป็นหลัก อนึ่งการป้องกันโรคลัมปี สกิน ก็เป็นสิ่งที่สำคัญกรมปศุสัตว์จึงขอให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยง โค กระบือ ทำตามมาตรการควบคุมโรคที่กรมปศุสัตว์กำหนด

        ดังนี้ ควบคุมการเคลื่อนย้ายโค – กระบือ,เฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด เน้น รู้เร็ว คุมเร็ว โรคสงบเร็ว ,กำจัดแมลงนำโรค ได้แก่ แมลงดูดเลือด ยุง เห็บรักษาสัตว์ป่วยตามอาการ,ฉีควัคซีนเพื่อควบคุมโรค นับว่าเป็นโอกาสที่ดีจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่นและเทศบาลตำบลโคกสูงได้จัด “กิจกรรมรณรงศ์ฉีดวัคซีนป้องกันและกำจัดโรคล้มปี สกิน และมอบเวชภัณฑ์สำหรับรักษาและป้องกันโรคลัมปี สกิน”

        ในเวลาต่อมาอธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะลงพื้นที่ไปดูการทำงานของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ในการฉีดยารักษาวัวที่ป่วยเป็นโรคลัมปี สกิน ซึ่งเป็นวันเพศผู้พันธ์บราห์มันแดง ด้วยการฉีดยาจำนวน 3 เข็ม คือยาแก้อักเสบ ยาแก้การติด้ชื้อและยาบำรุง ซึ่งอธิบดรกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า วัวที่ป่วยแล้วจะไม่ได้รับวัคซีน แต่จะรับเฉพาะยาเพื่อการรักาโรคเท่านั้น ซึ่งยาเหล่านี้เกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ สอบถามกับปศุสัตว์แล้วซื้อมาให้ปศุสัตว์ฉีดให้กับวัวที่ป่วย ส่วนใหญ่เมื่อวัวได้รับยาแล้วหากอาการติดเชื้อน้อยก็จะดีขึ้น บางตัวก็หาย ส่วนวัคซีนนั้นจะให้กับวัวที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและยังไม่ติดโรคลัมปี สกินเท่านั้น โดยก่อนที่จะให้วัคซีน ต้องมีการตรวจสุขภาพโค กระบือทุกตัว หากพบว่ามีอาการไข้ก็จะงด และให้เฉพาะตัวที่ร่างกายแข็งแรงปลอดเชื้อโรคเท่านั้น

        และอธิบดีกรมปศุสัตว์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า สถานการณ์ ณ ขณะนี้พบสัตวที่ป่วยด้วยโรคลัมปีสกินแล้วประมาณ 50,000 ตัว ตายไป 500 กว่าตัว ในจำนวนของโคที่ร่วมฝูงก็ไม่ได้ติดโรคทุกตัว โดยอัตราการเกิดโรคนั้นอยู่ที่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอัตราการตายนั้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ แต่จากการประเมินสถานการณ์พบว่าอัตราการตายนั้นมีน้อยเพียง 1-2 เปอร์เซ็นต์ แต่อัตราความกังวลของชาวบ้านนั้นมีมาก เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศ ที่ผ่านมาไม่เคยเกิดโรคดังกล่าวนี้ขึ้นมาก่อน เพราะฉะนั้นทำให้ชาวบ้านนั้นไม่รู้ว่าโรคลัมปีสกินนั้นคืออะไรและมาจากไหนทำให้มีความวิตกกังวล ซึ่งยืนยันว่าโรคลัมปีสกินนั้นไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงหากเราเข้าใจในตัวโรคว่าเป็นเพียงไวรัสชนิดหนึ่งเท่านั้น วัวพื้นเมืองหรือวัวบ้านหรือกระบือนั้นอัตราการเกิดโรคและเสียชีวิตจากโรคถือว่าน้อยมา โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับวัวที่อายุน้อยและวัวสายพันธุ์ยุโรป

        ในส่วนการเยียวยานั้น อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ได้มีการลงพื้นที่ไปสำรวจโดยเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลเองมีความเป็นห่วงเป็นใยพี่น้องประชาชนในเรื่องดังกล่าว ประชาชนคนไหนที่เลี้ยงวัวและเกิดโรคลัมปีสกินจนเสียชีวิตทางเจ้าหน้าที่ก็จะมีการเยียวยาตามสิทธิเช่นเดียวกับภัยพิบัติต่างๆ ในส่วนสัตว์ที่ป่วย ทางเจ้าหน้าที่ปสุสัตว์แต่ลำพื้นที่ก็มีการเข้าไปช่วยเหลือให้ยารักษาและฉีดวัคซีนป้องกันในกลุ่มวัว ควาย กระบือที่ยังไม่เกิดโรคอย่างเร่งด่วน ในเรื่องของภัยพิบัตินั้นจะอยู่ในหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง แม้ขอนแก่นจะยังไม่ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติก็จะมีการประชุมกันอีกครั้งในเรื่องการเยียวยาย้อนหลังก่อนการประกาศด้วย

        ส่วนเรื่องวัคซีนนั้นขณะนี้ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทำให้ยังไม่มีการรับรองจาก อย. แต่วัคซีนที่เรานำเข้าขณะนี้นั้นถือว่าผ่าน อย. เพราะมีการตรวจสอบคุณภาพแล้วว่าสามารถป้องกันโรคได้ ในส่วนวัคซีนเถื่อนนั้นทางกรมปศุสัตว์ไม่แนะนำให้เกษตรกรหาซื้อมาใช้เอง ขอให้ทางเกษตรกรใช้วัคซีนที่มาจากการนำเข้าของกรมปศุสัตว์จะดีที่สุด และเนื่องจากโรคนี้เป็นโรคใหม่วัคซีนจะต้องสั่งจากต่างประเทศ แต่วิธีการการกำจัดโรคนั้นประเทศไทยมีประสบการณ์จากโรคระบาดอื่นๆมาก่อนหน้านี้ ซึ่งประเทศไทยก็จะมีการวิจัยและผลิตวัคซีนขึ้นเอง เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต้นทุนได้ถูกลง และในส่วนที่หลายคนวิตกกังวลว่าหากวัวควายกระบือติดโรคแล้วจะสามารถรับประทานได้หรือไม่นั้น ขอยืนยันว่าสามารถรับประทานได้ตามปกติไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด

        จากนั้น นายชาญประเสริฐ พลซา ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น ได้นำทีมปศุสัตว์ลงพื้นที่ไปตรวจสุขภาพวัว เพื่อฉีดวัคซีนวัวจำนวน 80 ตัว ให้กับชาวบ้านทุ่งโปร่ง ต.อุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โดยมีชาวบ้านนำวัวของตัวเองมายืนเข้าแถวรอรับวัคซีนกันอย่างพร้อมเพรียง

นายประมวล ประเสริฐสุข ชาวบ้านทุ่งโปร่งนายประมวล ประเสริฐสุข ชาวบ้านทุ่งโปร่ง
นายประมวล ประเสริฐสุข
ชาวบ้านทุ่งโปร่ง

        ในขณะเดียวกันผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปดูการเลี้ยงกระบือของเกษตรกรที่บ้านทุ่งโปร่ง ม.4 ต.อุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น พบกับ นายประมวล ประเสริฐสุข อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 72 ม.4 บ้านทุ่งโปร่ง ซึ่งได้เลี้ยงกะบือจำนวน 3 ตัว ทุกตัวร่างกายแข็งแรงผิวเกลี้ยงเกลา นายประมวล กล่าวว่า แมลงวันคอก เหลือบ หรือแมลงดูดเลือด ยุง เห็บ หมัด มีมานานกระทบกับโค กระบือที่เลี้ยงไว้ ที่ผ่านมาเลี้ยงกระบือกว่า 30 ตัว แต่ราคาไม่ดีจึงขายยกคอก และเพิ่มจะซื้อมาเลี้ยงอีก 3 ตัว จึงได้ดูแลรักษากระบือของตัวเองเป็นอย่างดี โดยการใช้ปูนขาวโรยที่พื้นคอก และเก็บขี้ออกจากคอก รวมทั้งต้มน้ำสมุนไพร ฉีดพ่นใส่คอก และเช็ดผิวหนังให้กระบือ ส่วนคอกก็อย่าให้เปียกชื้น กลางคืนก็กางมุ้งให้นอน

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง