กิ่งกาชาดอำเภอซำสูง @ขอนแก่น (กิ่งที่ 5/13)

กิ่งกาชาดอำเภอซำสูง @ขอนแก่น (กิ่งที่  5/13)

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
     

        “อำเภอซำสูง“  เป็นอำเภอน้องใหม่ เดิมเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในอำเภอกระนวน  ยกระดับจาก “กิ่งอำเภอ“ ปี 2537  และเป็น “อำเภอ“ เมื่อปี   2550

        ชื่อนี้ มีที่มา “ซำ“ หมายถึง พื้นที่ซับน้ำ จึงเป็นแหล่งปลูกผักอินทรีย์ไร้สาร  ส่งเข้าไปวางขายใน ท้อปซุปเปอร์มาร์เก็ต ผู้บริโภคสายเขียว เดินเข้าไปพลิกดู ยี่ห้อ “ซำสูง“ ซึ่งเขียนด้วยลายมือ แม่เฒ่า วัยกว่า 80 ลายมือโย้เย้ แต่คลาสสิกสุดใจ….

        “กิ่งกาชาดอำเภอซำสูง จัดตั้ง เมื่อ วันที่  13 กันยายน 2561 ลำดับที่ 259 โดยมีคู่เสี่ยวนักธุรกิจ จากส่วนกลาง และ นักธุรกิจในพื้นที่ จับคู่กัน บริจาคเพื่อเป็นทุนประเดิมในการ จัดตั้ง คือ คุณสมศักดิ์  บริสุทธนะกุล CEO บมจ.ทีพีบีไอ และ คุณปกรณ์  ลีศิริกุล โรงสีข้าวชัยมงคล ขอนแก่น

        ปัจจุบัน มีสมาชิกสามัญ ทั้งหมด   63 คน  เมื่อมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างกัน  ภารกิจเพื่อคนซำสูง จึงทำให้เกิดแรงศรัทธา มีสมาชิกใหม่ ประเภทกิตติมศักดิ์ เพิ่มขึ้น  จำนวน 2 คน ได้แก่ คุณจิระวรรณ  ตั้งสงบ และ คุณเอื้อมพร  นิตยาชิต

        “อำเภอซำสูง“  มีประชากร ราว 20,640  คน, 35 หมู่บ้าน  และ อาศัยกันอยู่ใน  5,377 หลังคาเรือน

        หากจะว่ากันไป อำเภอซำสูง เป็นอำเภอขนาดเล็ก มีพื้นที่ 116 ตารางกิโลเมตร  คล้ายๆ กับ นนทบุรี คือ เป็นอำเภอ ที่อยู่ติดกับจังหวัดขอนแก่น  ระยะทางเพียง 25 กิโลเมตร

        แม้จะใกล้เมือง แต่พบว่า  คนซำสูง รักถิ่น หลายคนที่เกษียณแล้ว ตัดสินใจ มาใช้ชีวิตบั้นปลาย ที่บ้านเกิด จึงพร้อมที่จะพัฒนาบ้านของตัวเอง…เอาใจช่วย ไปด้วยกันนะ …..

///////////////////////////////////////////////////////

        กิ่งกาชาด” เป็นสมาชิกของ “เหล่ากาชาด“ ดูแลงาน “บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขปวงประชา เป็นที่พึ่งพาผู้ยากไร้ “ ในระดับอำเภอ

        เหล่ากาชาด“  ดูแลงานในระดับ จังหวัด และเป็นสมาชิกของ  สภากาชาดไทย“   ซึ่งดูแลงาน ทั้งประเทศไทย

         “กิ่งกาชาด” จึงมีความสำคัญระดับพื้นที่ ของแต่ละอำเภอ แต่ละพื้นที่ที่มีขนาดเล็กลง แต่มีข้อดี คือ เข้าถึงความเดือดร้อนของราษฏร์ ด้วยความรวดเร็ว รู้พื้นที่ รู้ปัญหา แสวงหาแนวทางบรรเทาทุกข์อย่างตรงจุด ด้วยความเอื้ออาทร ต่อกัน พวกเขาล้วนเป็นเครือญาติ เป็นชุมชนที่จะดูแล ทุกข์ สุขกัน เป็นพลังสามัคคี ที่ต่อจุดความเข้มแข็งให้ประเทศชาติ ได้อย่างเข้มแข็งและยืนยาว

        “เหล่ากาชาด” จึงมีหน้าที่ ในการช่วยหนุนเสริม เติมกำลังใจ สนับสนุน ในสิ่งที่ขาด ที่สำคัญและน่าชื่นชม คือ สมาชิก ในพื้นที่เป็นพลัง ที่จะช่วยกันขับเคลื่อน ชุมชนบ้านเกิดของพวกเขา พร้อมที่จะส่งต่อ บ้านเมือง ให้ลูกหลาน ด้วยคำว่า “สำนึกรักบ้านเกิด

บันทึกช่วยจำ : ประเทศไทย มี 878 อำเภอ มีกิ่งกาชาด จำนวน 285 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 32

 

…………………………………………………………………………….

 

 

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง