คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
ปิดทริป เยี่ยมยาม ถามกิ่งกาชาด ทั้ง 13 กิ่ง ของจังหวัดขอนแก่น ด้วย…. มนต์รักเพลง…ลุ่มน้ำพอง…..
“อำเภอน้ำพอง“ ชื่อเดิม คือ “อำเภอท่าหว้า“ ก่อตั้ง เมื่อปี 2450 หรือ 114 ปี ก่อน เป็น 1 ใน 5 เมืองเอก ของจังหวัดขอนแก่น แห่งยุคนั้น คือ อำเภอเมือง-น้ำพอง-ชนบท-ภูเวียง และ อำเภอพล
มีพื้นที่ 828 ตารางกิโลเมตร ประชากร 113,729 คน อาศัย อยู่ใน 168 หมู่บ้าน, 35,498 หลังคาเรือน
“น้ำพอง“ เป็นลำน้ำ ที่เกิดในเทือกเขา ไหลเอือย ๆ จาก ภูกระดึง ผ่าน 4 อำเภอ ของจังหวัดขอนแก่น คือ ชุมแพ-ภูเวียง-น้ำพอง-เมือง ความยาว 275 กิโลเมตร แล้วไหลไปรวม กับ ลำน้ำมูล ทิ้งตัวไปรวมกับแม่น้ำโขง ที่อุบลราชธานี
“กิ่งกาชาดอำเภอน้ำพอง“ ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2461 เป็นลำดับที่ โดยมีคู่เสี่ยวระดับผู้บริหาร จากส่วนกลาง และ นักธุรกิจในพื้นที่ จับคู่กัน บริจาคเพื่อเป็นทุนประเดิมในการ จัดตั้ง คือ คุณมนูภาน ยศธแสนย์ ท่านผู้พิพากษา และ คุณณัฐพล ประคุณศึกษาพันธ์ กงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐเปรู
มีสมาชิก ในยุคก่อตั้ง จำนวน 45 คน “คุณสายวสันต์ ลีเขาสูง“ นายกกิ่งกาชาดอำเภอน้ำพอง คนแรก เล่าว่า.. เป็นความประทับใจ ที่มีโอกาสได้สร้างบ้าน ให้ ผู้ยากไร้ เห็นรอยยิ้ม ของพวกเขา เป็นความสุข เต็มตื้น ที่เล่า กี่ครั้ง ก็เต็มตื้น อยู่อย่างนั้น…ทุกที
ความเข้มแข็งของ กรรมการและสมาชิก พบได้จากการนำเสนอ ผลงานกิจกรรม ในรอบปีที่ ผ่านมา โดย รองนายกกิ่งฯ ทั้ง 3 ท่าน อย่างรู้จริง
ปัจจุบัน มีสมาชิก 82 คน และมีสมาชิกที่ขอปรับจาก สมาชิกประเภทสามัญ เป็น สมาชิกกิตติมศักดิ์ จำนวน 1 คน คือ คุณปราณี ปิติสุวรรณรัตน์ พวกเขารู้ว่า ค่าธรรมเนียมสมาชิก เป็นเงินที่ใช้ในกิจกรรม ของบ้านเกิดของพวกเขาเอง……
///////////////////////////////////////////////////////
“กิ่งกาชาด” เป็นสมาชิกของ “เหล่ากาชาด“ ดูแลงาน “บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขปวงประชา เป็นที่พึ่งพาผู้ยากไร้ “ ในระดับอำเภอ
“เหล่ากาชาด“ ดูแลงานในระดับ จังหวัด และเป็นสมาชิกของ “สภากาชาดไทย“ ซึ่งดูแลงาน ทั้งประเทศไทย
“กิ่งกาชาด” จึงมีความสำคัญระดับพื้นที่ ของแต่ละอำเภอ แต่ละพื้นที่ที่มีขนาดเล็กลง แต่มีข้อดี คือ เข้าถึงความเดือดร้อนของราษฏร์ ด้วยความรวดเร็ว รู้พื้นที่ รู้ปัญหา แสวงหาแนวทางบรรเทาทุกข์อย่างตรงจุด ด้วยความเอื้ออาทร ต่อกัน พวกเขาล้วนเป็นเครือญาติ เป็นชุมชนที่จะดูแล ทุกข์ สุขกัน เป็นพลังสามัคคี ที่ต่อจุดความเข้มแข็งให้ประเทศชาติ ได้อย่างเข้มแข็งและยืนยาว
“เหล่ากาชาด” จึงมีหน้าที่ ในการช่วยหนุนเสริม เติมกำลังใจ สนับสนุน ในสิ่งที่ขาด ที่สำคัญและน่าชื่นชม คือ สมาชิก ในพื้นที่เป็นพลัง ที่จะช่วยกันขับเคลื่อน ชุมชนบ้านเกิดของพวกเขา พร้อมที่จะส่งต่อ บ้านเมือง ให้ลูกหลาน ด้วยคำว่า “สำนึกรักบ้านเกิด”
บันทึกช่วยจำ : ประเทศไทย มี 878 อำเภอ มีกิ่งกาชาด จำนวน 285 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 32
Leave a Response