คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
สวัสดี ปีใหม่ 2565 ช้า ล่าไปหน่อย แต่ เป็นงานชิ้นแรก ที่เจอกัน ในปี 2565-ปีขาล…เสือดุ…แต่ โควิด-19 กลายพันธุ์ ดุกว่า…หลายเท่าตัว นะ
จากการไปเกาะติด ตามไปเยี่ยมกิ่งกาชาด ทั้ง 13 อำเภอ ในจังหวัดขอนแก่น-บ้านเฮา เป็น 13 ซีรี่ย์ อ่านกันไปแล้วนั้น ขอรวบยอด แนวมองผ่านเลนส์ การวิเคราะห์ เพื่อเป็นแนวทาง แห่งความยั่งยืน แบ่งปัน เล่าสู่กันฟัง…
เรื่องของ องค์กรบรรเทาทุกข์ ที่ยาวนานที่สุดของมวลมนุษยชาติ ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด บนโลกใบนี้ คือ “กาชาดสากล“ ก่อตั้งเมื่อปี 2406 หรือ 159 ปี ก่อน โดย “อังรี ดูนังต์“ ชาวสวิสเซอร์แลนด์ (ชื่อของเขานำมาตั้งเป็นชื่อถนน ใน กทม. ซึ่งเป็นที่ตั้งของสภากาชาดไทย)
30 ปี ต่อมา จึงมีการก่อตั้ง สภาอุณาโลมแดง ปี 2436 (รัชสมัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5) และเปลี่ยนชื่อเป็น “สภากาชาดไทย“ ในเวลาต่อมา
จากระดับสากล มาสู่ระดับประเทศ ของเรา คือ สภากาชาดไทย เหล่ากาชาดจังหวัด กิ่งกาชาดอำเภอ หน่วยเล็กสุดในชุมชน ระดับอำเภอ ทั้ง 13 อำเภอ ของ จังหวัดขอนแก่น-บ้านเฮา มีมุมน่าขบคิด ดังนี้
มุมการรับรู้ การจัดตั้ง : พบว่า ชุมชน มีการรับรู้อย่างทั่วถึง ว่า มีกิ่งกาชาดในชุมชนของตัวเอง จากการสื่อสารระดับข้าราชการ ผู้นำชุมชน อาทิ กำนัน ใหญ่บ้าน และรู้ว่าภารกิจหลักของกิ่งกาชาด คือ การรับบริจาคโลหิต การบริจาคถุงยังชีพ
มุมการมีส่วนร่วม : พบว่า ภาคเอกชน/ข้าราชการเกษียณ มีส่วนร่วมกับกิจกรรมบรรเทาทุกข์ เช่น การออกหน่วย รับบริจาคโลหิต การออกร้านธารากาชาด และพบอีกว่า เครื่องแบบของกาชาด สร้างความภาคภูมิใจ ให้กับกรรมการ ในการปฏิบัติหน้าที่ ยิ่งนัก
มุมความเข้มแข็งและยั่งยืน : พบว่า ปัจจัยสำคัญ คือ บุคคลสำคัญ- – นายอำเภอ ที่ใส่ใจ/เข้มแข็ง ในภารกิจของกิ่งกาชาด จะช่วยเกิดความคึกคัก มีโมแมนตั้ม คล้ายลูกตุ้ม ที่หมุนตัว ขยับอย่างต่อเนื่อง
แต่พบว่า บางพื้นที่ ภาคเอกชนเข้มแข็ง ด้านทุนสนับสนุน จึงเป็นแรงเสริม กิจกรรมต่างลื่นไหล บรรเทาทุกข์ ของราษฏร์ ได้อย่างน่าชื่นใจ
กิ่งกาชาด ทั้ง 13 อำเภอ ของจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ หนองเรือ ชุมแพ บ้านไผ่ ภูเวียง บ้านฝาง หนองสองห้อง อุบลรัตน์ ซำสูง น้ำพอง เปือยน้อย พล กระนวน และ เขาสวนกวาง จึงมีความต่าง ตามบริบทของตัวเอง
แต่เชื่อว่า ในยามวิกฤติ “กิ่งกาชาด“ จะกลายเป็นหน่วยงาน ที่เป็นที่พึ่งกับราษฏรได้ อย่างใกล้ชิด ที่สุด ……
///////////////////////////////////////////////////////
“กิ่งกาชาด” เป็นสมาชิกของ “เหล่ากาชาด“ ดูแลงาน “บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขปวงประชา เป็นที่พึ่งพาผู้ยากไร้ “ ในระดับอำเภอ
“เหล่ากาชาด“ ดูแลงานในระดับ จังหวัด และเป็นสมาชิกของ “สภากาชาดไทย“ ซึ่งดูแลงาน ทั้งประเทศไทย
“กิ่งกาชาด” จึงมีความสำคัญระดับพื้นที่ ของแต่ละอำเภอ แต่ละพื้นที่ที่มีขนาดเล็กลง แต่มีข้อดี คือ เข้าถึงความเดือดร้อนของราษฏร์ ด้วยความรวดเร็ว รู้พื้นที่ รู้ปัญหา แสวงหาแนวทางบรรเทาทุกข์อย่างตรงจุด ด้วยความเอื้ออาทร ต่อกัน พวกเขาล้วนเป็นเครือญาติ เป็นชุมชนที่จะดูแล ทุกข์ สุขกัน เป็นพลังสามัคคี ที่ต่อจุดความเข้มแข็งให้ประเทศชาติ ได้อย่างเข้มแข็งและยืนยาว
“เหล่ากาชาด” จึงมีหน้าที่ ในการช่วยหนุนเสริม เติมกำลังใจ สนับสนุน ในสิ่งที่ขาด ที่สำคัญและน่าชื่นชม คือ สมาชิก ในพื้นที่เป็นพลัง ที่จะช่วยกันขับเคลื่อน ชุมชนบ้านเกิดของพวกเขา พร้อมที่จะส่งต่อ บ้านเมือง ให้ลูกหลาน ด้วยคำว่า “สำนึกรักบ้านเกิด”
บันทึกช่วยจำ : ประเทศไทย มี 878 อำเภอ มีกิ่งกาชาด จำนวน 285 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 32
Leave a Response