เหตุผลของชาวขอนแก่นที่ เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย โควิดเป็นโรคประจำถิ่น

สำรวจความเห็นชาวขอนแก่นเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย กับแผนโรดแมป ปลดล็อคโควิด-19 ให้เป็นโรคประจำถิ่น หลังทุกอย่างเริ่มลงตัว และต้องเร่งกระตุ้นภาพรวมทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ในภาวะของแพงและภาวะสงครามที่ส่งผลกระทบถ้วนหน้า

มติ คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบ ปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่น เริ่ม 1 ก.ค. นี้ แบ่งระยะของโควิดเป็นโรคประจำถิ่น 4 ระยะ ดังนี้
– ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้น เม.ย.) เรียกว่า Combatting ต้องออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้ เป็นระยะต่อสู้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง จะมีมาตรการต่างๆ ออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง
– ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.) เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ
– ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.) เรียกว่า Declining การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1,000-2,000 คน
– และอีกบวก 1 หรือระยะ 4 ตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น


ล่าสุดเมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 10 มี.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศแผนการปลดล็อคให้การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้เป็นโรคประจำถิ่น โดยมีผลตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่เดือน มี.ค.เป็นต้นไปและมีผลชัดเจนทั้งระบบตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ซึ่งแผนการดำเนินงานดังกล่าวที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศออกมานั้นได้รับความสนใจจากชาวขอนแก่นถึงแนวทางการดำเนินงานดังกล่าวอย่างมาก ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง