มข. เปิดตัว “Vallaris” แพลตฟอร์มบริหารต่อยอดข้อมูลภูมิศาสตร์

ม.ขอนแก่น เปิดตัว “Vallaris” แพลตฟอร์มฝีมือคนไทยสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ที่สะดวก รวดเร็ว เข้าใจง่าย ตรวจสอบสภาพที่ตั้ง-น้ำ-ฝุ่นและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆได้ตลอดทั้ง 24 ชม. ชวนหน่วยงานรัฐและเอกชนต่อยอดการใช้บริการได้อย่างครอบคุลมครบจบในที่เดียว


เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 20 เม.ย.2565 ที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. รศ.ดร.ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย นายมรุพงศ์ โฉมเฉลา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนวัตกรรมเชิงพื้นที่ บ.ไอบิทซ์ จำกัด ผศ.ดร.พิพัธน์ เรืองแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข. , นายประสงค์ ทีปเพิ่มพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บ.ไอบิทช์ จำกัด พร้อมคณะทำงาน ได้ร่วมกันเปิดตัว Vallaris Maps Platfrom เครื่องมือสำหรับบริหารจัดการข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ซึ่ง อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. ร่วมกับ บ.ไอบิทซ์ จำกัด และคณะนักวิจัย ได้ร่วมกันผลิตและคิดค้นขึ้นจนประสบผลสำเร็จและสามารถเข้าใช้งานด้านแผนที่ผ่านระบบดังกล่าวได้แล้วเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ท่ามกลางความสนใจจากนักวิชาการด้านภูมิศาสตร์ นวัตรกรรม งานด้านบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด

รศ.ดร.ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มข. กล่าวว่า ความสำคัญและการขับเคลื่อนหน่วยงานด้านข้อมูลภูมิศาสตร์ จากผลงานวิจัยและพัฒนาร่วมระหว่างทีงานนักวิจัยของ มข. กับ บริษัทในกลุ่มสตาร์อัพ ที่เกิดขึ้นเป็นผลงานสำคัญที่เป็นฝีมือคนไทยในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ที่สามารถตรวจสอบข้อมูลและค้นหาข้อมูลได้เพียงแค่ปลายนิ้ว ไม่ด้อยไปกว่าเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น หรือแพลตฟอร์มชื่อดังระดับโลก ซึ่งขณะนี้ Vallaris ซึ่งเปิดให้ใช้งานได้ผ่านทางเว็บไซต์ เพจ และระบบที่คณะทำงานได้จัดทำชึ้นน้ั้น สามารถเข้าทำการตรวจสอบสภาพปริมาณน้ำ, สภาพฝุ่นละออง โดยเฉพาะ PM.2.5 สภาอากาศ จากทุกภูมิภาคของไทย รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆที่ขณะนี้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนและสถานบริการต่างๆเริ่มเข้ามาต่อยอดการใช้บริการของวาลาริส อย่างต่อเนื่องแล้ว

“ยอมรับว่าความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ มีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก และมีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งในเรื่องของการรับมือต่อการแพร่ขยายของโรคระบาด,การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน,การบุกรุกทำลาย,การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฎบนแผนที่สามารถที่จะทำให้แปลหรือสื่อความหมาย และนำไปใช้งานได้และแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที โดยเฉพาะกับสถานการณ์น้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ที่วาราริส ได้เป็นฐานข้อมูลให้กับหลายหน่วยงานในการติดตามสถานการณ์ โดยเฉพาะกับผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งวาราริสได้เป็นเว็บไซต์ที่ประชาชนใช้ในการเกาะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างแพร่หลาย”

ขณะที่นายมรุพงศ์ โฉมเฉลา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเชิงพื้นที่ บ.ไอบิทซ์ จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้วาราริส สามารถเข้าใช้งานได้แล้ว ผ่านเว็บไซต์ https:vallarismaps.com หรือผ่านทางเฟซบุ็ก Vallaris Maps ในการตรวจสอบสภาพทางภูมิศาสตร์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพียงแค่ปลายนิ้วก็สามารถที่จะเข้าถึงการให้บริการด้านแผนที่ การให้บริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งการตรวจสอบรถโดยสารสาธารณะ ตรวจสอบสภาพฝุ่นละออง ภาพทรวมทั้งประเทศหรือเฉพาะเจาะจงไปในพื้นที่ที่ต้องการ รวมไปถึงข้อมูลด้านพื้นที่ที่จะแสดงผลบนแผนที่ที่ครบถ้วน ครอบคลุมรอบด้าน ซึ่งจากการเปิดระบบให้ผู้ที่สนใจได้ใช้บริการพบว่าเป็นการใช้งานที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการค้นหาข้อมูล อย่างไรก็ตามขณะนี้คณะทำงานได้ประสานงานร่วม วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข. ในการต่อยอดระบบ เพื่อให้วาราริส ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งต่อยอดกับภาคเอกชน ในการเข้ามาปักหมุด หรือให้บริการในประเภทต่างๆ เพื่อให้วาราริส นั้นครบจบในที่เดียว ที่ทุกคนสามารถค้นหาข้อมูล ค้นหาสิ่งอำนวยความสะดวก ค้นหาสถานที่ ด้วยฝีมือคนไทยที่ไม่ด้อยไปกว่าแพลตฟอร์มของต่างชาติที่ทุกคนใช้งานอยู่ในขณะนี้

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง