ขอนแก่นเปิดหมู่บ้านดีโฮปที่เขาสวนกวาง โชว์นิทรรศการโปรแกรมของผู้ประกอบการชุมชน

ขอนแก่นเปิดหมู่บ้านดีโฮปที่เขาสวนกวาง โชว์นิทรรศการโปรแกรมของผู้ประกอบการชุมชน ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รองรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบยวิถีชุมชนหลังสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 27 พ.ค.2565 ที่ บ.ดงบัง ม. 4 ต.ดงเมืองแอม อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น นายกรชวาลวิชญ์ ชัยพีรวัส นายอำเภอเขาสวนกวาง พร้อมด้วยนายพนม สิงห์สาย พัฒนาการจังหวัดขอนแก่น ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจ รวมทั้งให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมและท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชน อ.เขาสวนกวาง ได้กำหนดจัดกิจกรรมขึ้น ภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด

นายพนม สิงห์สาย พัฒนาการ จ.ขอนแก่น กล่าวว่าการจัดโปรแกรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Decentralized Hand on Program Exhibition – D-HOPE ) ที่ บ.ดงบัง อ.เขาสวนกวาง วันนี้ ได้มีการนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวที่สนใจ ได้มาร่วมกิจกรรมและลงมือปฎิบัติจริงกับชุมชน จำนวน 10 โปรแกรม ประกอบด้วย การทำจานรองแก้วจากเสื่อกก, การทำเข็มกลัดรังไหม, การทำแจ่วบองผักปลอดสาร, การทำจักสานพัดใบโพธิ์

“การสานกระถางจากเส้นพลาสติก, การทำสร้อยคอจากเส้นไหม, การทำชาใบหม่อนสมุนไพร, การทำข้าวต้มหัวหงอก, การทำส้มผักปลอดสาร และการ ทำเครื่องดื่มสมุนไพรอินทรีย์ ซึ่งทางชุมชนได้เปิดพื้นที่ทำกิจกรรมในการรับนักท่องเที่ยวแบบวิถีใหม่นิวนอมอล ภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดอย่าวเข้มงวดในเบื้องต้น 3 วันคือระหว่างวันที 25-27 พ.ค.โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันละ 30 คน”

พัฒนาการ จ.ขอนแก่น การยกระดับชุมชนหมู่บ้านของขอนแก่น สู่การเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์หรือดีโฮปเป็นโครงการที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลทั้งแผนฯ 13 และแผนชาติ 20 ปี ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน และส่งเสริมให้เกิดการสร้างประสบการณ์ร่วมให้กับนักท่องเที่ยว Local Experience โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ Local Wisdom เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียรรู้ระหว่างคนในชุมชนกับนักท่องเที่ยว และยังเป็นกระแสการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่มีแนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative Tourism และการท่องเที่ยวเชิงอาหาร Gastronomy Tourism ทั้งยังมีการนำแนวคิด BCG Model มาปรับใช้ในเรื่องของ Green ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ดี และต่อยอดให้เป็นการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและผู้ประกอบการชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างแท้จริง

       

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง