เรียนเก่ง (ต้อง) เรียนหมอ ? ?

เรียนเก่ง (ต้อง) เรียนหมอ ? ?
ปะจัน” โดย “เขี้ยวจัน

ที่นี่….ไม่ใช่คอลัมน์ร้องทุกข์ แต่เป็น การสังคมอุดมปัญญา ลุกขึ้นมา “ทวงสิทธิ” ของการเป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ เจ้าของคะแนนเสียงที่เลือก “ตัวแทน” ในทุกระดับ ของการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารบ้านเมือง ด้วยข้าราชการ “ตัวแทน” จากส่วนกลาง ทุกกระทรวง ทบวง กรม…[ หน้ารวมบทความ ปะจัน ]

อาจเป็น “ค่านิยม” หรืออาจเป็นความจำเป็น ของการเรียนสายวิชาชีพแพทย์ ทำให้ ถูกปลูกฝังกันว่า เด็กนักเรียนที่เรียนเก่ง ต้องเรียน “หมอ” รองลงมาเป็น พยาบาล วิศวะ

แต่เราก็พบกันว่า คนเรียนด้านนี้ อาจไม่ได้กลับออกมาทำอาชีพ ตรงตามสายงานที่เรียนมา เพราะอาจมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาในชีวิต จนพวกเขา ต้องเปลี่ยนสายน้ำแห่งอาชีพ ไปเป็นอื่น

ดูอย่างเวที การเมือง ยังมีคุณหมอ หลายคน ที่เบนเข็ม มาเป็น “ คุณหมอ-อาชีพนัการเมือง”  อย่าง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว, นพ.พรมมินทร์  เลิศสุริย์เดช, นพ.สุรพงษ์  สืบวงศ์ลี  ฯลฯ

ยอมรับ กัน ใน “ต้นทุนทางสังคม” ของความเป็น “คุณหมอ” ว่ามี “แต้มต่อ” แห่งความศรัทธา น่าเชื่อถือ

กาลเวลาที่ผ่านไป เมืองไทยยังขาดแคลน “คุณหมอ” แถม ยุคโควิด-19 พวกเขา คือ ฮีโร่ในชุดขาว ที่เป็นความหวัง ให้พวกเราบูชาน้ำใจ กับภาวะการณ์ทำงานที่หนักหน่วง ของ บุคลากรทางการแพทย์ ทุกคน

มาวันนี้ ข่าวดัง ที่คุณหมอ เกิดอาการท้อ ระบาดวิทยา หลายคนทนไม่ไหว ขอ “ลาออก”  เพราะ เหนื่อยหนัก ซึ่งเป็นแนวโน้มของสังคมไทย สังคมโรค ที่โรคภัย มีมาก รวมทั้งอายุขัยที่ยาวนานขึ้น ห้วงเวลาของการรักษา อาการต่างๆ จึงเพิ่มมาก ตามเป็นเงา โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน เปิด ขยายเตียง เท่าไหร่ เท่าไหร่ ก็รองรับไม่พอ

กลับมาดู สถิติ ข้อจริง ของวงการแพทย์ ที่อยู่ภายใต้ ความหวังของคนไข้

อัตราประชากร เฉลี่ย ต่อ คุณหมอ 1 คน ที่ขึ้นแชมป์ 3 จังหวัดแรกของ ประเทศไทย  ล้วนอยู่ในภาคอีสาน ได้แก่

1 บึงกาฬ  คุณหมอ 1 คน ต้องดูแล ประชากร  6,018 คน

2 หนองบัวลำภู  คุณหมอ 1 คน ต้องดูแล ประชากร  4,710 คน

3 กาฬสินธุ์ คุณหมอ 1 คน ต้องดูแล ประชากร  4,081 คน

สถิติ ของการ ที่คุณหมอ ต้องทำงาน มีภาระหนักมากที่สุด  ต้องดูแลประชากร มากกว่า 3,000 คน ต่อ คุณหมอ 1 คน นั้น  มี   22 จังหวัด

มีภาระมาก ประชากร น้อยกว่า 3,000 คน  มี 32 จังหวัด

มีภาระน้อย ประชากร น้อยกว่า 2,000 คน มี  20 จังหวัด  (จังหวัดขอนแก่น อยู่ในเกณฑ์ นี้)

มีภาระน้อยที่สุด ประชากร น้อยกว่า 1,000 คน มีจำนวน 3 จังหวัด คือ กทม. นครปฐม และ ภูเก็ต

รศ.นพ.สุรศักดิ์  ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลรามาธิบดี แสดงความเห็นเรื่องนี้ ว่า เหตุที่คุณหมอ ลาออกจากระบบราชการ คือ ปัจจัยแรก-คุณหมอมีภาระงาน มากขึ้น ดูได้จากสถิติ ว่าหนักหน่วงจริงๆ ปัจจัยที่สอง-คุณหมอเป็นที่ต้องการ ของภาคเอกชน ทั้งใน และต่างประเทศ  เอกชนบางแห่ง ทุ่มทุน ยอมจ่าย ค่าชดใช้ทุนหลวง เพื่อดึงตัวคุณหมอ ไปทำงานกับเขาทันที ไม่รีรอที่จะให้ต้องใช้ทุน ตามระยะเวลาที่ราชการกำหนดไว้ ปัจจัยที่สาม– คุณหมอ คนรุ่นใหม่ มีโอกาสเลือก การทำงาน ค่าตอบแทน และ พบว่าการฟ้องของคนไข้ ที่มีบ่อยขึ้น ระบบราชการอาจสร้างความไม่มั่นใจพอ ว่าจะได้รับการดูแลอย่างวางใจได้

อีกปม ประเด็น ที่อาจจะยังไม่ได้ พูดถึงกัน แบบ ป้องปากดังนัก คือ การโยก “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” -รพสต. ที่ถูกโอนย้าย ไปอยู่ในความดูแล ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด-อบจ. อาจมีส่วนทำให้ “คุณหมอ” ตัดสินใจ ลาออก มุ่งหน้าสู่ทางเลือกใหม่ของชีวิต ในนาที ที่พวกเขาเลือกได้……..

เมืองไทย จึงต้อง “กลับโจทย์คิด ” ว่าทำอย่างไร เราจะวางแผน วางแนวทางเดิน เพื่อแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นในวันนี้ แถมด้วยการป้องกัน ปัญหาในอนาคต ที่สำคัญต้อง “ไม่ด้อยค่า” คนไทย และเมืองไทยของเรา จึงจะสำเร็จ ในทุกแนวรบ…..

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง