เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 23 มิ.ย. 3566 ที่ห้องประชุมแก่นเมือง ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานการประชุมเพื่อเตรียมการก่อสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ขอนแก่น ตามมาตรการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยและภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่กำลังจะมาถึง โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้าร่วมประชุม อย่างพร้อมเพรียง
นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า ขอนแก่นมีพื้นที่การเกษตร 4.22 ล้านไร่ อยู่ในเขตชลประทาน 503,718 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11 ของพื้นที่การเกษตรทั้งจังหวัด โดยมีแหล่งน้ำต้นทุนและมีปริมาณน้ำความจุ รวม 2,821.73 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำมีความจุเพียง 941.81 ล้าน ลบ.ม. หรือ 33% ซึ่งอยู่ใน เกณฑ์น้ำน้อย ขณะที่ด้านอุปโภค บริโภคมีน้ำดิบเพียงพอสำหรับการผลิตนำประปา และ สำหรับความต้องการใช้น้ำทั้งปี จะอยู่ที่ประมาณ 3,743 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็นด้านอุปโภค บริโภค 68.38 ล้าน ลบ.ม. ด้านการเกษตร 3,357 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศน์ 182.5 ล้าน ลบ.ม. และด้านอุตสาหกรรม 136.05 ล้าน ลบ.ม.
“จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำคงเหลือระยะสิ้นฤดูฝน 1 พ.ย.2566 จังหวัดได้เตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง และฝนทิ้งช่วงระหว่าง ในห้วงเดือน มิ.ย.-ก.ค. โดยประสานกรมฝนหลวง เติมเต็มแหล่งน้ำที่ มีปริมาณน้ำน้อย เช่น เขื่อนอุบลรัตน์ อ่างเก็บน้ำขนาด กลาง 14 แห่ง ขนาดเล็ก 261 แห่ง แก้มลิง 37 แห่ง ปัจจุบัน ได้จัดทำฝายชะลอน้ำ โดยดำเนินการในพื้นที่รวม 26 อำเภอ จำนวนทั้งหมด 330 ฝ่าย มีปริมาณน้ำกัก เก็บเพิ่มขึ้น 7.1 ล้าน ลบ.ม.”
ผวจ.ขอนแก่น กล่าวต่ออีกว่า ช่วงนี้เป็นปรากฎการณ์เอนโซ จะเปลี่ยนผ่านจากลานิญาไปเอลนีโญ จากข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่าสิ่งที่ควรระวัง 3-5 ปี ข้างหน้าจะเกิดเอลนีโญอาจจะถึงซุปเปอร์เอลนีโญ จะทำให้ฝนตกน้อยและฤดูฝนจะสั้นลง ดังนั้น เมื่อฝนตกต้องรีบเก็บน้ำถือเป็นวินาทีทองถ้าไม่มีน้ำจะกระทบทุกอย่าง ธนาคารแห่งประเทศไทยวิเคราะห์ว่าถ้าไม่มีน้ำผลผลิตทางการเกษตรจะลดลง ข้าว อ้อย มัน จะลดลงชนิดละ 5-7% และบวกกับปัญหาหนี้สินที่เกษตรกรมีจะเป็นปัญหามากขึ้น
” เครื่องมือที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นหน่วง ดัก กัก ชะลอน้ำ ไว้ป้องกันน้ำท่วมและน้ำแล้งที่ผ่านมาน้ำท่วมเพราะเราไม่เคยตัดยอดน้ำไว้ตั้งแต่ต้นทางปล่อยให้มากองกันที่น้ำชีพอมาเยอะก็แก้ปัญหาลำบากตอนนี้เร่งลงมือทำในหลายอำเภอแล้วโดยชลประทานเป็นคนชี้จุดควรจะทำตรงไหนเพื่อให้มีน้ำใช้ในยามแห้งแล้ว จริงๆเราแนะนำเกษตรกรมาโดยตลอดให้ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ เพราะเส้นทางฝนของจังหวัดจะเริ่มต้นช่วง ส.ค.ไปจนถึง ต.ค. แต่เข้าใจวิถีชีวิตเกษตรกรถ้าเกิดความเสียหายก็ต้องใช้งบประมาณทางราชการเยียวยาแต่ถ้าเป็นไปได้อยากแนะนำให้ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อดีที่สุดเพราะข้อมูลปีนี้ไม่ใช่ฝนทิ้งช่วงแบบธรรมดาจะทิ้งช่วงและเข้าสู่ภาวะเอลนีโญน่าเป็นห่วงอย่างมาก”
Leave a Response