อันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำ จากผลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปี 2566 (ITA 2566)

ITA

ป.ป.ช. เปิดผลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปี 2566 (ITA 2566)

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 13.30 – 15.00 น. สำนักงาน ป.ป.ช. (สนามบินน้ำ) นนทบุรี ได้จัดงานแถลงข่าวประกาศผลการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ITA DAY 2023: Growth & Goals เติบโตสู่เป้าหมาย) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. แถลงผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือ ITA ประจำปี 2566 มีการประเมิน 8,323 หน่วยงาน โดยผลคะแนนการประเมิน ITA ประจำปี 2566 ในภาพรวมระดับประเทศพบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 90.19 คะแนน ซึ่งมีทิศทางแนวโน้นที่ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 2.62 คะแนน และเมื่อพิจารณา สัดส่วนของหน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมินที่มีคะแนนผลการประเมินในระดับ 85 คะแนนหรือระดับผ่านขึ้นไป พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 6,737 หน่วยงาน คิดเป็นสัดส่วน 80.94% ของหน่วยงานทั้งหมด 8,323 หน่วยงาน โดยเป็นไป ในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาถึง 10.42%

ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐที่มีคะแนนประเมินสูงสุดในแต่ละกลุ่ม มีดังนี้ กลุ่มศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการและหน่วยงานในรัฐสภา โดยศาลปกครอง ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด 97.74 คะแนนอยู่ในระดับ ผ่านดี

ขณะที่คะแนนผลประเมินของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ (อ้างอิงจากมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับจากการจัดอันดับ QS World University Rankings 2024 ) มีคะแนนคุณธรรมและความโปร่งใสที่ประเมินโดย ป.ป.ช. ที่น่าสนใจดังนี้

1-สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 95.44
2-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 94.79
3-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 94.04
4-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 92.29
5-มหาวิทยาลัยขอนแก่น 90.06
6-มหาวิทยาลัยศิลปากร 88.22
7-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 87.11
8-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 86.87
9-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 86.31
10-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 86.13
11-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 84.69
12-มหาวิทยาลัยมหิดล 84.37
13-มหาวิทยาลัยนเรศวร 75.48

สำหรับมหาวิทยาลัยชื่อดังอื่นๆ(ที่ไม่ติดอันดับจากการจัดอันดับ QS World University Rankings 2024) มีดังนี้
มหาวิทยาลัยบูรพา 78.31
มหาวิทยาลัยนครพนม 77.83
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 85.37
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 87.45
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 87.57
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 87.79
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 87.91
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 87.95
มหาวิทยาลัยทักษิณ 88.06
มหาวิทยาลัยรามคำแหง 88.41
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 92.88
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 91.10
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 91.29

ประธาน ป.ป.ช.กล่าวว่า ผลการประเมิน ita เป็นเรื่องของการเสริมสร้างให้หน่วยงานของรัฐแข่งขันในการให้บริการประชาชนอย่างเต็มความสามารถเป็นที่พึงพอใจของประชาชน การที่คะแนนบางรายงานไม่ถึงเป้าหมายจะต้องดูว่ามีข้อจำกัดหรือความไม่พร้อมของบุคลากรงบประมาณ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีงบประมาณจำกัดแต่คะแนน ITA จะเป็นตัวผลักดัน ให้หน่วยงานรัฐลงไปดูแล ขณะที่ ป.ป.ช.ก็จะลงไปช่วยในการติดตามในบริบทการป้องกันการทุจริตเพื่อให้ปฏิบัติงานบริการได้ดียิ่งขึ้น และหวังว่า จะพัฒนาการให้บริการของหน่วยงานรัฐได้ดียิ่งขึ้น โดยการประเมินจะดำเนินงานมาทั้งปี ซึ่งไตรมาสแรกจะเป็นการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานประเมินส่วนไตรมาสที่ 2 และ 3 หรือใช้ระยะเวลา 6 เดือน เป็นการดำเนินการประเมิน มีการเปิดโอกาสให้บุคลากรรัฐและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินก่อนเปิดเผยสื่อสาธารณะชนขณะที่ไตรมาสที่ 4 จะเป็นการประมวลผลการประเมินจัดทำข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานต่างๆ

ที่มา https://itas.nacc.go.th

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง