“ปะจัน” โดย “เขี้ยวจัน”
ที่นี่….ไม่ใช่คอลัมน์ร้องทุกข์ แต่เป็น การสังคมอุดมปัญญา ลุกขึ้นมา “ทวงสิทธิ” ของการเป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ เจ้าของคะแนนเสียงที่เลือก “ตัวแทน” ในทุกระดับ ของการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารบ้านเมือง ด้วยข้าราชการ “ตัวแทน” จากส่วนกลาง ทุกกระทรวง ทบวง กรม…[ หน้ารวมบทความ ปะจัน ]
ถาม : กกต. มีไว้ทำไม ?
ตอบ : กกต. ทำหน้าที่ “เปิดประตู” สู่อำนาจการบริหารประเทศ
ภาษาเผ็ดๆ ถูกหยิบชู ขึ้น ในโลกออนไลน์ แสดงทัศนคติด้านลบ เสมือนถูกขัดใจ ผิดหวัง ไม่ได้ตามหวัง แต่ส่งผลกระทบต่อเกียรติภูมิขององค์กร เข้าขั้น “ด้อยค่า” ไร้ความหมาย ในสายตาของเจ้าของวลี “กกต. มีไว้ทำไม ? “
เป็นความใจกว้าง ของ เลขาธิการ กกต.-แสวง บุญมี ที่เปิดรับประเด็น จัดเสวนา ให้พูดคุยกันบนเวที เมื่อ 18 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา
จึงมีเรื่อง มาเล่าสู่กันฟัง แบบสังคมอุดมปัญญา รู้เรื่องราว รากเหง้า ที่มาของบ้านเมือง เพื่อการมีส่วนร่วม วัฒนาบ้านเมือง ไปด้วยกัน
กกต.-สำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง เป็นองค์กรอิสระ จัดตั้งขึ้น ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน ปี 2540 จากยุคเดิม ของการเลือกตั้ง ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงมหาดไทย และมักมีคำสัพยอก กันว่า พรรคการเมืองใด อยากมี สส.ต้องมาคุมมหาดไทย…..
กกต. มีหน้าที่ 3 เรื่องใหญ่ๆ ระดับประเทศ คือ 1) จัดการเลือกตั้ง 2) ให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตย และ 3) พัฒนาพรรคการเมือง
การทำงานกับกลุ่มคนที่มีอำนาจสูงสุด ผู้มีเงิน ผู้เลือก ผู้ถูกเลือก จึงมีแรงเสียดทานมาก ในยุคแรกๆของการเปลี่ยนผ่าน พบว่า กกต.มีความผิด เดินเข้าคุกกันมาแล้ว
เมื่อมีการปรับการทำงาน ในยุคหลัง จึงพบว่า การทำงานของ กกต. ที่ต้องขบกับปัญหาใหญ่ จึงมีการทำงาน ที่ต้องมีแนวคิด อิงหลักกฎหมาย จึงอาจกลายเป็น ตำบลกระสุนตก เมื่อไม่ถูกใจ ทั้งเจ้าตัวและกองเชียร์
ยิ่งในยุคสังคมออนไลน์ การสาดคำ เสียดสี ยิ่งทำให้สังคมเกิดรอยร้าว รอยแยก
น่าเห็นใจ “คนกลาง” ที่ทำหน้าที่ “สมดุลในระบบการเมือง” เมื่อถูกใจ จะเงียบกริบ ผิดใจ ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ โวยทันที
กกต.ยอมรับว่า การใช้ สังคมออนไลน์ มีผลต่อการเลือกตั้ง และยอมรับว่า กกต.เองก็ต้องปรับ และพัฒนาองค์กรของตัวเอง เช่นกัน
แถมท้ายว่า การเลือกตั้ง เมื่อ 14 พฤษภาคม 2566 ใช้งบประมาณ เกือบหกพันล้านบาท หลายคนมาค่อนแคะ แต่พบว่า การเลือกตั้ง ต้องใช้กำลังคน ราว 1 ล้านคน แต่ละคน ได้รับเบี้ยเลี้ยง เฉลี่ย คนละ 2,000./บาท ก็สองพันล้านบาท เข้าไปล่ะ ไหนจะพิมพ์บัตรเลือกตั้งแบบกันปลอม และอื่นๆอีก เห็นไหมว่า…ประชาธิปไตย ที่ได้มา ย่อมต้องใช้เงิน
“การเลือกตั้ง” เป็นประตูบานแรก ที่จะก้าวเข้าสู่อำนาจ ในการบริหารประเทศ
ถามใหม่ว่า หาก ไม่มี กกต. ? องค์กรใด จะทำหน้าที่นี้ ??
Leave a Response