ประชาธิปไตย ต้องใช้เงิน ??

ปะจัน
ปะจัน” โดย เขี้ยวจัน

ที่นี่….ไม่ใช่คอลัมน์ร้องทุกข์ แต่เป็น การสังคมอุดมปัญญา ลุกขึ้นมา “ทวงสิทธิ” ของการเป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ เจ้าของคะแนนเสียงที่เลือก “ตัวแทน” ในทุกระดับ ของการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารบ้านเมือง ด้วยข้าราชการ “ตัวแทน” จากส่วนกลาง ทุกกระทรวง ทบวง กรม…[ หน้ารวมบทความ ปะจัน ]

คำ คำนี้ ใช่ว่าจะต้องถูกตีความว่า เป็นการ “ ซื้อ-ขายเสียง” ในยามเลือกตั้ง แต่ในความเป็นจริง ทุกๆกิจกรรม ย่อมต้องมีค่าใช้จ่าย เพียงแต่ว่า ใครเป็น คนจ่าย เท่านั้นเอง จริงไหม…

การนี้ จึงเข้าข่าย ไม่มีของฟรี….ในโลก รวมทั้ง การแจกเงินดิจิตัล คนละ “หนึ่งหมื่นบาท” ของรัฐบาล-เศรษฐา ด้วยเช่นกัน หากไม่ใช่เงินที่ออกมาจากกระเป๋า ส่วนตัวของนักการเมือง ก็ต้องมาจากเงินของแผ่นดิน ที่จัดเก็บมาจากประชาชน ในรูปแบบต่างๆ นั่นแหละ ….จริงไหม… 

คำไทย ที่ใช้กับนักการเมือง มี 2 คำ ชวนให้คิด คือ “เล่นการเมือง- ทำงานการเมือง” 

เล่นการเมือง “ ดูว่า นักการเมือง ไม่ชอบคำนี้ นัก “เล่น” ดูไม่จริงจัง ไม่สมฐานะ ของ การเป็น ท่าน สส. ผู้ทรงเกียรติ และ อีกนัย เล่น ต้องมี คำว่า “แพ้-ชนะ”  ตามมา 

ทำงานการเมือง “ ดูดี จริงจัง จริงใจ ทำงานให้พี่น้องประชาชน แต่การทำงานย่อมต้องมีค่าตอบแทน พูดง่าย คือ มีค่าจ้าง มีเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และสวัสดิการอื่นๆ เพราะมีสถานะเป็น  “ลูกจ้าง

ตามแนวทาง การปกครอง ระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากกษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุข มีกระบวนการ ของหน่วยงาน กำกับดูแล คือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง-กกต.  มี พรบ.การเลือกตั้ง มีข้อมูลที่เปิดเผย ต่อพี่น้องประชาชน สาธารณชน ให้ติดตาม เป็นข้อมูล เป็นบทเรื่อง ให้ติดตามทางการเมือง 

พูดถึงเรื่องค่าใช้จ่าย คงจะพอจำกันได้ ใช่ไหมว่า  กกต. ได้รับการจัดสรร งบประมาณ ในการจัดการเลือกตั้ง เมื่อ 14 พฤษภาคม 2566 จำนวน  5,945 ล้านบาท เพื่อให้ได้มาซึ่ง สส. จำนวน 500 คน เฉลี่ย เป็นค่าใช้จ่าย คนละ @ 11.89 / ล้านบาท

ต่อมามีการรายงานตัวเลข การใช้จ่าย เพื่อ หาเสียงของพรรคการเมือง ซึ่ง กกต. กำหนดไว้ไม่เกินพรรคละ 44 ล้านบาท

 พบว่า แชมป์ จ่ายเยอะสุด คือ พรรคก้าวหน้า  ใช้ไป  40.9 ล้านบาท ได้ สส. 151 คน เฉลี่ยคนละ 2 แสน 7 หมื่นบาท

อันดับสอง คือ พรรคเพื่อไทย ใช้ไป 40.2 ล้านบาท ได้ สส. 141 คน เฉลี่ยคนละ  2 แสน 8 หมื่นบาท

อันดับสาม คือ  พรรคภูมิใจไทย ใช้ไป 38.4 ล้านบาท ได้ สส. 71 คน เฉลี่ยคนละ  5 แสน 4 หมื่นบาท

อันดับสี่ คือ พรรคพลังประชารัฐ ใช้ไป 24.2 ล้านบาท ได้ สส. 40 คน เฉลี่ยคนละ 6 แสน 5 พันบาท

อันดับห้า คือ พรรครวมไทยสร้างชาติ ใช้ไป 40.6 ล้านบาท ได้ สส. 36 คน เฉลี่ยคนละ  1.13 ล้านบาท

อันดับหก คือ พรรคประชาธิปัตย์ ใช้ไป 34.4  ล้านบาท ได้ สส. 25 คน เฉลี่ยคนละ  1.37 ล้านบาท

พบว่า ต้นทุนค่าใช้จ่าย ใกล้เคียงกัน แต่ได้ผลลัพธ์ จำนวน สส. ต่างกัน จึงทำให้ ต้นทุนต่อคน ต่างกัน

เรื่อง ยังไม่จบ พรรคการเมือง ต้องแจกแจง ที่มาของเงิน รายการบัญชีค่าใช้จ่าย ให้ถูกต้องตามระเบียบของ กกต. การจัดกิจกรรม ของพรรค จำนวนสมาชิกพรรค การจัดตั้งสาขาพรรค ล้วนต้องใช้เงินทั้งสิ้น 

ประชาธิปไตย จึงต้อง ใช้เงิน ที่เรามักจะได้ยินว่า “ถอนทุน” ก็ด้วยรายการที่มา-ที่ไป ตามสมการการเมือง ที่เล่าสู่กันฟัง ข้างต้นนี้แล………

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง