ชาวขอนแก่น ลงทะเบียนขอรับการช่วยเหลือหนี้นอกระบบแล้ว 231 ราย มูลค่าหนี้รวม 43 ล้านบาท

IMG_5483

ชาวขอนแก่น ลงทะเบียนขอรับการช่วยเหลือหนี้นอกระบบแล้ว 231 ราย มูลค่าหนี้รวม 43 ล้านบาท ผู้ว่าฯ สั่งแก้ปัญหาเร่งด่วน ขานรับนโยบายรัฐบาลอย่างเต็มที่

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 3 ธ.ค. 2566 ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.ขอนแก่น พร้อมด้วย   พ.ต.อ.ไพโรจน์ ไทยพุทธา รอง ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น  ร่วมกันตรวจสอบการลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบ  ภายหลังมีประชาชนที่เป็นลูกหนี้ทยอยมาลงทะเบียนกันอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา

นายไกรสร กองฉลาด ผวจจ.ขอนแก่น  กล่าวว่า การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน โดยปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยเน้นหนักในปัญหาหนี้นอกระบบและปัญหายาเสพติดควบคู่กันไป ซึ่งขอนแก่นเปิดให้บริการลงทะเบียนลูกหนี้ในระบบออนไซต์รวมทั้ง ที่ว่าการอำเภอทั้ง 26 อำเภอ และ ที่ศูนย์ดำรงธรรศาลากลางจังหวัด รวมทั้งสิ้น 27 จุด

“ขณะเดียวกันยังคงได้มีการรับลงทะเบียนแบบออนไลน์ ทางคิวอาร์โค้ต และเว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการของรัฐอย่างเต็มรูปแบบ และจากการตรวยสอบพบว่ามีประชาชนที่เดือดร้อนจากหนี้นอกระบบลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือทั้งสิ้น 231 ราย มูลค่าหนี้รวม 43 ล้านบาท โดยในการลงทะเบียนนั้นพบว่ามีการลงทะเบียนที่จุดรับบริการ 142 ราย  มูลค่าหนี้ 28 ล้านบาท และทางออนไลน์ 89 ราย มูลค่าหนี้ 28 ล้านบาท”

นายไกรสร กล่าวต่ออีกว่า นอกจากการเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่ยังสนธิกำลังเข้าทำการปิดล้อมตรวจค้นผู้มีอิทธิพล 5 เป้าหมาย สามารถ จับกุมผู้ต้องหา ได้ 8 ราย   จับกุมเจ้าหนี้นอกระบบพร้อมของกลาง 1 ราย อย่างไรก็ตามสำหรับข้อมูลรายชื่อผู้มีอิทธิพลในจังหวัดขอนแก่น ตามบัญชีรายชื่อที่ลูกหนี้กำหนด มีทั้งสิ้น 76 ราย แบ่งเป็นกลุ่มสีแดงหรือกลุ่มที่มีหลักฐานชัดเจน 51 ราย กลุ่มสีเหลืองหรือผู้ต้องสงสัย 25 ราย ซึ่งจะเข้าไปดำเนินการตรวจค้นจับกุมต่อไป

“สำหรับสถานการณ์ยาเสพติดในจังหวัด ได้ดำเนินการกวาดล้างจับกุมมาต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2566 จับกุมผู้กระทำผิดได้ถึง 8,768 ราย โดยในปี 67 ยังคงเดินหน้ากวาดล้างอย่างต่อเนื่อง  ส่วนกลุ่มผู้เสพจะปรับเปลี่ยนให้เป็นผู้ป่วย สร้างสังคมให้น่าอยู่ อย่างไรก็ตามทุกภาคส่วนและครอบครัวต้องช่วยกัน ดูแลคนใกล้ตัวให้ดีที่สุด และเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่  อีกทั้งผู้เสพยาเสพติดคือผู้ป่วย หากมีการคุ้มคลั่งและเข้าระงับเหตุนั้น ต้องไม่เกิดเหตุรุนแรง เพราะคนกลุ่มนี้คือผู้ป่วย ต้องนำตัวเข้าสู่กระบวนการรักษา  เมื่อเข้าสู่การรักษาและแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรบำบัดหรือปล่อยตัวกลับบ้าน ดังนั้นการปฎิบัติงานห้ามกระทำการจนเกิดความรุนแรง และห้ามวิสามัญ เพราะต้องนำตัวเข้าสู่การบำบัดรักษาตามขั้นตอนต่อไป”

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง