สิ้นปี ปิดด้วย “หนี้”

IMG_6872
“ปะจัน” โดย “เขี้ยวจัน”

ที่นี่….ไม่ใช่คอลัมน์ร้องทุกข์ แต่เป็น การสังคมอุดมปัญญา ลุกขึ้นมา “ทวงสิทธิ” ของการเป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ เจ้าของคะแนนเสียงที่เลือก “ตัวแทน” ในทุกระดับ ของการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารบ้านเมือง ด้วยข้าราชการ “ตัวแทน” จากส่วนกลาง ทุกกระทรวง ทบวง กรม…[ หน้ารวมบทความ ปะจัน ]

ก่อน กล่าวลา ปี 2566  ขอปิดท้าย ด้วย “หนี้” ปัญหาที่หมักหมม มานาน ทั้งหนี้ในระบบ หนี้นอกระบบ ที่เกาะกิน ประหนึ่ง “มะเร็ง ”ของสังคม ที่ส่งผลให้ประชาชนนับล้านคนก้าวไม่พ้น วงจร “ความจน

เมื่อรัฐบาลยังรั้งรอ เรื่อง การแจกเงินดิจิท้ล ที่ยังขาดความชัดเจน จึงต้องเข็น ประเด็นใหม่เข้ามา ให้เป็นข้อถกเถียง เบี่ยงประเด็นข่าว แปรความสนใจในสื่อ ไปอีกเรื่อง และเรื่องที่ไปเกี่ยวข้องกับประชน ผู้คนจำนวนมาก คือ หนี้

มีรายงานเรื่อง “หนี้สาธารณะ” มานานเกินกว่า 5 ปี มาแล้ว ว่าเป็นข้อน่ากังวลใจ ที่อาจฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ตามมา

เมื่อรัฐบาล จับประเด็น เรื่อง “หนี้” จึงมีการขุดตัวเลข จากหน่วยงานต่างๆ ขึ้นมาให้เราเห็น จนน่ากังวลใจ  คือ ราว  16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90 % ของ

หนี้” ในนิยาม ทางกฎหมาย เป็นการมี “นิติสัมพันธ์” ระหว่าง ผู้ให้กู้ และผู้กู้ 

หากเป็น หนี้ในระบบ จะมีระเบียบการ ระหว่างกัน โดยมีหน่วยงานกำกับดูแล และมักจะถูกจัดเป็นกลุ่มๆ ตามลักษณะอาชีพ อยู่แล้ว เช่น 

หนี้เกษตรกร-ธ.ก.ส. ดูแล หลักประกันสินเชื่อ มักเป็น ที่ดิน ไร่ นา หนี้ที่เกิดขึ้น มักเกิดจาก ราคาพืชผล ทางการเกษตร มีราคาตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง ปุ๋ยแพง  ฟ้าฝนไม่อำนวย  ราคารับซื้ออิงราคาตลาด จึงไม่แน่นอน ราคาตกต่ำ เมื่อผลผลิตล้นตลาดในฤดูการเก็บเกี่ยว

หนี้การค้าขาย– ธนาคารออมสิน เป็นผู้ดูแล คนเล็กคนน้อย กู้เงินเพื่อค้าขาย อาชีพอิสระ ซึ่งอาจไม่แน่นอน ในการทำกิน รวมทั้ง อาจขาดความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงิน รายจ่ายจึงถาโถม กลายเป็นหนี้ ที่พัวพันไปถึงหนี้นอกระบบ

หนี้การเรียน-กยศ. นักเรียน นักศึกษา ได้รับเงินกู้จากภาครัฐ ในการเป็นเงินเพื่อยังชีพในการเรียน จนถึงระดับที่พวกเขาสามารถออกมาสู่ระบบการทำงานได้ นั้น พบว่า เกิดอาการ”เบี้ยวหนี้” สะสมกันมามาก นับแสนล้าน แต่หนี้ก้อนนี้ ยังเป็น หนี้ที่ติดตัวพวกเขาอยู่ และกลายเป็นหนี้ก้อนโตขึ้นเรื่อย ๆ

และยังมี หนี้ ในกลุ่ม อื่นๆ รวมทั้ง “หนี้นอกระบบ” ที่ประมาณกันว่า มีมากกว่า 50,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลมอบบทบาทให้กระทรวงมหาดไทย เข้าไปสำรวจ มีการลงทะเบียนลูกหนี้ มูลค่าหนี้ 

หากยังจำกันได้ กระทรวงมหาดไทย เคยประกาศจะขึ้นทะเบียน “ผู้มีอิทธิพล” ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งมองๆไป อาจเป็นกลุ่มเดียวกับ “เจ้าหนี้-นอกระบบ” 

รัฐบาลชุดนี้ วางกรอบงานไว้ เพียง 4 ปี ตามวาระของการบริหารประเทศ แต่ในความเป็นจริงของ โครงสร้างระบบเศรษฐกิจ ควรมีการวางแผน เชิง ยุทธศาสตร์ เช่น แผนยุทธศาสตร์ประเทศ ในอีก 20 ปี ว่า เราอยากเห็นประเทศ เดินทางในทิศทางใด ไม่เพียงเน้น ควิกวิน” ชนะเพียงข้ามคืน หรือผลงานใน 100 วัน 

การวางแผน ระยะยาว ที่ต่อเนื่อง ประหนึ่งเป็นการ “ตัดถนน”  ให้ประชาชนทั้ง 67 ล้านคน ได้มองเห็น และเดินทางไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีรัฐบาล เป็นทีมกัปตัน ที่จะคอยเตือน-บอกว่า ลงเนิน ขึ้นเขา ขรุขระ มีน้ำขัง ทางโค้ง และ อื่นๆ  

ก่อหนี้ มีหนี้  ก็ต้องชำระ เพราะต้องคิดถึง เจ้าหนี้ ที่มีต้นทุนทางการเงิน ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ด้วยเช่นกัน

การก่อหนี้ หากนำมา หมุนๆ ในทางทำให้เกิดโมเมนตั้ม เกิดดอกผล ย่อมช่วยหมุนให้เศรษฐกิจเดินหน้า ชาวบ้าน อย่างพวกเรา กินดี อยู่ดี แต่หากใช้เงินผิดประเภท นำไปซื้อข้าวของ ที่เพียงบำรุง บำเรอ ความสุข โชว์หน้าตา เป็นแฟชั่น ยามนั้น ฟันเฟืองอาจเป็น ล้อลม-ที่หมุน แบบ ฟี่ ฟี่…

และกลายเป็นหนี้ก้อนโต ให้พวกเรา ต้องมา กุมขมับ กันอีก ชั่วลูกหลาน…

แนวทาง การ ไม่เป็นหนี้… เป็นคัมภีร์ ที่พวกเรา รู้กันอยู่ แต่จะขืนใน อดทน อดกั้นกับ อาการ ไม่ใจอ่อน ของ โลกแห่งการบริโภคนิยมได้ นั้น เริ่มที่ตัวเรา…

ในความเป็นจริง “ฐานข้อมูล” ในเรื่อง หนี้ และ “ทุกปัญหา “ ของ ประเทศ ข้อมูลอยู่กับ ทุกหน่วยงานของภาครัฐ อยู่แล้ว ยุคหนึ่ง เราได้ยิน คำว่า “บูรณาการ” หากมีการนำข้อมูล เหล่านั้น มาทำงานร่วมกัน อย่างจริงจัง เชื่อมั่นว่า จะเป็นแนวทาง นโยบายเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ ได้อย่าง น่าชื่นชมเป็นที่สุด มีรัฐบาลไหน คิด-ทำ ได้ อย่างนี้ อยู่ยาว อยู่นาน ไปเลย…..

สวัสดี ปีใหม่ 2567 …. ขอให้เป็น ปี ที่คุณๆ ปลอดโรค ปลอดภัย และ ปลอดหนี้….

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง