สปป.ลาว เป็นปลื้มผลงานเลี้ยงปลาในกระชังริมแม่น้ำพองขอนแก่น ทำได้ทั้งระบบ ตั้งแต่เพาะพันธุ์-แปรรูป เล็งขยายผลการต่อยอดพัฒนาวงการประมงร่วมระหว่างหน่วยงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 2 ก.พ.2567 ที่ ธวัชชัยฟาร์ม บ.นาเพียง ต.สำราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ศ.ดร.อ๊อด พงสะหวัน รองประธานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ แห่ง สปป.ลาว พร้อมด้วย นายสมสัก วิไลทอน กงสุลใหญ่ สปป.ลาว ประจำประเทศไทย ขอนแก่น, นายเข็มชาติ สมใจวงษ์ ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้า จ.ขอนแก่น,นาบบุญถัน วงสุริย์ รองประธานกลุ่ม บริษัท พงสะหวัน กรุ๊ปและประธานสภาบริหารธนาคารพงสะหวัน สปป.ลาว นำคณะผู้บริหารศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ และ คณะผู้บริหารกลุ่มบริษัทพงสะหวันกรุ๊ป รวมทั้งนักวิชาการด้านการเกษตร ลงพื้นที่เยี่ยมชมการยริหารจัดการและการดำเนินการที่ธวัชชัยฟาร์ม ฟาร์มปลากระชัง ในแม่น้ำพอง ที่มีการบริหารจัดการทั้งระบบและการปรับเปลี่ยนการทำนาข้าวมาเป็นาปลา ที่ประสบผลสำเร็จรายใหญ่ของภาคอีสาน ฌดยมีนานธวัชชัย บุญใบ เจ้าของฟาร์มฯ,นายชัชวาล พรอมรธรรม เจ้าของเทพารักษ์ฟาร์ม และ กรรมการ บริษัทขนส่ง จำกัดแห่งประเทศไทย และนายธนกร วงศ์สว่างวรรณ รองผู้อำนวยการอาหารสัตว์น้ำจืดภาคอีสาน บ.เจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์ จำกัด และคณะนักวิชาการด้านการประมงน้ำจืดร่วมให้การต้อนรับ
นายธวัชชัย บุญใบ เจ้าของธวัชชัยฟาร์มขอนแก่น กล่าวว่า ฟาร์มได้ดำเนินธุรกิจเลี้ยงปลาในกระชังมานานกว่า 20 ปี โดยทำการเลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำพองในกลุ่มปลานิล ปลาทับทิมและล่าสุดคือปลาตะเพียนซึ่งถือเป็นการดำเนินงานในด้านการเลี้ยงปลาทั้งระบบตั้งแต่การเพาะพันธุ์-ขยายพันธุ์-การพัฒนาเนื้อปลาจนไปถึงการขายปลาสดและปลาแปรรูป ที่ครบจบที่เดียวที่ฟาร์ม โดยมีคณะนักวิชาการด้านการเกษตร มาร่วมกันพัฒนาและส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มาทำงานร่วมกันในฟาร์ม จนวันนี้นอกเหนือการเลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำพองที่มีการขออนุญาตอย่างถูกต้องแล้ว ยังคงมีการปรับนาข้าว เป็นนาปลา บริหารจัดการปลาให้กับลูกค้าได้ตามความต้องการอย่างครบถ้วน
“ในทุกเช้าฟาร์มจะจำหน่ายปลาสดให้กับคู่ค้า ทั้งร้านอาหาร,แม่ค้าในตลาดสด,ร้านโต๊ะจีน,โรงแรม หรือสถานประกอบการที่ต้องใช้ปลาสดมาทำการรับซื้อถึงฟาร์ม ในกลุ่มปลาหนักตัวละ 8 ขีด-1 กก. วันละประมาณ 1 ตัน นอกจากนี้ครอบครัวยังคงมีการพัฒนาและต่อยอดปลาที่เรามีในการแปรรูป ให้กับร้านปลาเผา,ปลานึ่ง,ปลาแดดเดียว,ปลาส้ม รวมทั้งชิ้นส่วนปลาต่างๆที่ร้านต่างๆต้องการฟาร์มมีการพัฒนาให้ตอบโจทย์การขายในตลาดได้ทั้งหมด เพราะปลา 1 ตัวนั้นเมื่อชำแหละแล้วสามารถขายได้ทั้งตัวจริงๆ”
ขณะที่ ศ.ดร.อ๊อด พงสะหวัน รองประธานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ กล่าวว่า การดำเนินงานด้านกองทุนสามัคคีประจำหมู่บ้าน เป็นการดำเนินงานที่ขยายครอบคลุมทั่วทั้งประเทศลาว โดยการเลี้ยงปลาในบ่อและปลาในกระชังนั้นเป็นหนึ่งในแผนงานที่จะดำเนินงานในพื้นที่ ดังนั้นการนำคณะฯลงพื้นที่ศึกษาดูงานฟาร์มปลา ต้นแบบรายใหญ่ของ จ.ขอนแก่น จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสานการทำงานด้านวิชาการร่วมระหว่างหน่วยงานร่วมกันต่อไปในอนาคต ด้วยการลงมือทำและปฎิบัติงานจริงเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนลาวนั้นมีรายได้จากภาคการเกษตรและได้รับการพัฒนาด้านวิชาการจนนำไปสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืนต่อไป
Leave a Response