น้ำตาล หวาน….นายทุน

IMG_0225

“ปะจัน” โดย “เขี้ยวจัน”

ที่นี่….ไม่ใช่คอลัมน์ร้องทุกข์ แต่เป็น การสังคมอุดมปัญญา ลุกขึ้นมา “ทวงสิทธิ” ของการเป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ เจ้าของคะแนนเสียงที่เลือก “ตัวแทน” ในทุกระดับ ของการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารบ้านเมือง ด้วยข้าราชการ “ตัวแทน” จากส่วนกลาง ทุกกระทรวง ทบวง กรม…[ หน้ารวมบทความ ปะจัน ]

ผู้เขียนมิได้มีเจตนาในการเอียง ข้างใด แต่อยากนำเสนอข้อมูลที่เป็นโครงสร้างสำคัญด้านพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่ง ประกอบด้วย “ข้าว-อ้อย-ปาล์ม-มันสำปะหลัง

เมืองไทย อุดม ดินดีสม เป็นเมืองเกษตร ปลูกพืช ผัก เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงคนทั่วโลก ชัยภูมิที่ตั้งก็ดี มีแม่น้ำ ทะเล ภูเขา อุทยาน  กลายเป็น จุดขายของแหล่งท่องเที่ยว ที่มีอาหารการกิน อร่อย อุดมทั่วทุกภาค ภูมิใจในความเป็นคนไทยจริงๆนะ

เรื่อง “อ้อย” ที่กลายเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย มีตำนานกล่าวถึง ถิ่นกำเนิดที่เกาะนิวกินี ในยุคล่าอาณานิคม จึงมีการกระจายมาปลูกในประเทศในแถบร้อน ชุ่มชื่น อย่าง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองไทยน้ำตาลขาดแคลน รัฐบาลจึงส่งเสริมการปลูกอ้อย และมีโรงงานน้ำตาลแห่งแรก ปี 2488 ที่จังหวัดลำปาง โดยกลุ่มน้ำตาลไทยรุ่งเรือง-ภาคเอกชน ลงทุน เจ้าของคือ “คุณสุรีย์ อัษฏาธร” หรือ “เถ้าแก่หลิ่น” ปัจจุบันเจนสาม เข้ามาบริหาร เราจะเห็น น้ำตาลยี่ห้อ “ลิน นั่นแหละ ต้นตำนานของตระกูลนี้

ภาครัฐเข้าไปดูแล กำกับ ตั้งแต่ต้นทาง คือ สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีสถาบันการเงินของรัฐเข้าไปช่วยสนับสนุน คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร-ธกส.

น้ำตาลทราย” เป็นสินค้าควบคุม ราคาขายปลีก ไม่เกิน 24-25 บาท ต่อกิโลกรัม กำกับดูแล โดยกระทรวงพาณิชย์

พื้นที่ปลูกอ้อย ทั่วประเทศราว 12 ล้านไร่ ภาคอีสาน ครองแชมป์ระดับภาคของประเทศ  โดยมี     5 อันดับ จังหวัดที่ปลูกมากสุด คือ อุดรธานี กว่า 7 แสนไร่ ตามมาด้วย ขอนแก่น กว่า 6 แสนไร่ นครราชสีมา ชัยภูมิ และกาฬสินธุ์  กว่า 4 แสนไร่ และมัดรวมกัน ทั้ง 5 จังหวัด รวมกว่า 4.7 ล้านไร่ ผลผลิต ราว 46 ล้านตัน/ฤดูกาล จำนวนเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 10 ตัน/ไร่

อ้อย” ใช้เวลาปลูก นานกว่า 18 เดือน และเก็บเกี่ยวได้ราว 2-3 รอบ (หมายถึง การตัดที่เหลือตอ และมีการงอกขึ้นใหม่)  ฤดูกาล เก็บเกี่ยวอ้อย ส่งเข้าโรงงานน้ำตาล ราว พฤศจิกายน ถึงมีนาคม ของทุกปี (ราว 5 เดือน) เป็นพืชที่ใช้งานได้ทุกส่วน อาทิ ชานอ้อย ใบอ้อย น้ำอ้อย น้ำตาล ไปสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ สุรา โรงไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ เครืองสำอาง ยา-เวชภัณฑ์ ฯลฯ

เส้นทางเดินของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล กว่า 79 ปี จึงลงราก ปักฐานเกี่ยวข้องกับวิถีการเกษตร ของชาวไร่อ้อย โดยมี “สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย” เป็นตัวแทนในการขับเคลื่อน ภาคผู้ผลิต ส่วนภาคเอกชน มีโรงงานน้ำตาล กระจายตั้งรองรับ ตามพื้นที่ ที่มีการปลูกอ้อย

น้ำตาล” เป็นสินค้าประเภทคอมมอดิตี้ ราคาจึงขึ้น-ลง เป็นสากล ที่ซื้อขายกันทั่วโลก เมืองไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อย เป็นอันดับหนึ่ง ของอาเซียน ผลิตได้มากเป็นอันดับสองของโลก รองจากบราซิล ในยุคน้ำมันแพง รัฐบาลเคยหันมาสนับสนุน ให้นำมาผลิตเป็นส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง แต่แผ่วไป เมื่อน้ำมันลงราคา  หากพัฒนาต่อเนื่อง น่าจะเป็นประโยชน์กับชาติบ้านเมืองยิ่งนัก

อ้อย” เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องปากท้องของชาวไร่อ้อย กว่า 3 แสนครอบครัว มูลค่ามากกว่า 2.5 แสนล้านบาท ต่อปี จึงมีห่วงโซ่ ที่เกี่ยวพันกันมากมาย รวมทั้งกลายเป็นประเด็นการเมือง ในทุกยุคสมัย ที่ผ่านมา

ยังไม่พบข่าวว่า มีชาวไร่อ้อย ประกาศตัวเป็น “เศรษฐีชาวไร่อ้อย

แต่เราพบ “กำไร” ของโรงงานน้ำตาล และ “ตระกูล” ที่ทำธุรกิจนี้ – – ดูจากเอกสารแนบท้ายนี้…

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง