โครงการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงนามความร่วมมือร่วมจีนและลาว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจคู่รถไฟความเร็วสูง
เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร โครงการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (A memorandum of understanding) (MOU) การขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจบนความร่วมมือของพหุภาคีเครือข่าย ด้านการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย และด้าน Cross Border E-Commerce & New Technology และ เสวนาทางวิชาการยุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ลาว-ไทย (Strategies for cooperation in the China-Laos-Thailand Economic Corridor Northeastern Economic Corridor project : Present and future collaboration between Thailand-Laos-China) ภายใต้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และมี อาจารย์ ดร. อรรฆพร ก๊กค้างพลู เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย
ทั้งนี้ภายในงานได้มีการ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (A memorandum of understanding) (MOU) ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ Kunming South Asia & Southeast Asia International Logistics Research Institute (SSILR) สาธารณรัฐประชาชนจีน, Center for China Studies, Research and Academic Service Office, National University of Laos สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, และ Yunnan Tengjin Logistics Co., Ltd., สาธารณรัฐประชาชนจีน และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นพยาน โดยภายในพิธีได้รับเกียรติจากตัวแทนจากหน่วยงาน ประกอบด้วย อาจารย์ ดร. อรรฆพร ก๊กค้างพลู หัวหน้าโครงการ และตัวแทนจากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเครือข่าย Mr.Liu Jinxin, President of Kunming South Asia& Southeast Asia International Logistics Research Institute (SSILR), Assoc. Prof. Dr. Sithixay XAYAVONG, Director of Center for China Studies/Director of Research and Academic Service, National University of Laos, Mr. Lunge Liu, General manager assistant of Tengjun International Logistics Co.,Ltd. และรองศาสตราจารย์ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร ในฐานะพยานร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 3 ชั้น 2 โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร
อาจารย์ ดร. อรรฆพร ก๊กค้างพลู เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย การศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า
การลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมที่เกิดจากโครงการวิจัยโครงการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ Kunming South Asia & Southeast Asia International Logistics Research Institute (SSILR) สาธารณรัฐประชาชนจีน, Center for China Studies, Research and Academic Service Office, National University of Laos สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, และ Yunnan Tengjin Logistics Co., Ltd., สาธารณรัฐประชาชนจีน และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยแต่ละหน่วยงานนับเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง บริษัท Think Tank และบริษัทเอกชนของประเทศที่มีชื่อเสียงจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีการส่งเสริมการค้าและการลงทุนผ่านการพัฒนาพื้นที่ของเส้นทางและพื้นที่เศรษฐกิจทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) และส่งเสริมการเป็นต้นแบบการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practices) เกี่ยวกับทางด้านการค้าและการลงทุนในบริษัทและมหาวิทยาลัยร่วมกัน
ทั้งนี้ทุกฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันในการพัฒนาในมิติด้านวิชาการหลายด้าน อันประกอบไปด้วย 1.การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาการสอนและเรียนรู้รวมถึงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรทางวิชาการและการสนับสนุน กาสร้างบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถ และความตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบัน และส่งเสริมนักศึกษาให้พร้อมที่จะเริ่มอาชีพ 2.การพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาให้ได้รับความรู้ ความสามารถ และมาตรฐานของทุกฝ่ายที่เข้าร่วมสัญญา 3.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ให้เข้ากันได้กับการพัฒนาของชาติทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นผลมาจากประโยชน์ของศักยภาพในการแข่งขันของทุกฝ่าย 4.การส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรให้สามารถทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและตอบสนองต่อความต้องการของสถาบันในพื้นที่ที่เข้าร่วมสัญญา 5.การส่งเสริมผลิตภาพของนักศึกษาและผู้ที่สนใจให้พร้อมและมีคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรงงาน 6.การจัดโปรแกรมการศึกษารวมถึงหลักสูตรประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท การเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวิชาการอื่น ๆ การแบ่งปันข้อมูล เอกสารวิจัย และการพิมพ์ 7.การรวมพลังเกี่ยวกับการวิจัยในการค้าและการลงทุนระหว่างสมาชิก เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านโครงการวิจัยร่วม การประชุมและกิจกรรมทางวิชาการอื่น ๆ เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนในพื้นที่ของเส้นทางเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) และการเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจจีน ลาว ไทยอีกด้วย
Leave a Response