ป.ป.ช.ขอนแก่น ตรวจอาคารเรียนทรุด พบข้อบกพร่องเหตุครูไม่เชี่ยวชาญก่อสร้าง

ข่าวขอนแก่น Web Cover

ปปช.ตรวจอาคารเรียนทรุด พบข้อบกพร่อง เพราะครูไม่เชี่ยวชาญการก่อสร้าง แต่ทุกอย่างดำเนินการตามระเบียบ ส่วนการแตกทรุดของฟุตบาท ไม่กระทบโครงสร้างอาคารเรียน

เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 27 มิถุนายน 2567 นายธีรัตน์ บางเพ็ชร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดขอนแก่น ลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารเรียน ที่ผู้อำนวยการโรงเรียนพาสื่อมวลชนเดินดูอาคารเรียน ของนักเรียนชั้นป.1ถึงชั้นป.6 ที่ตัวฟุตบาทที่กว้างประมาณ 1 เมตร รอบตัวอาคารบริเวณชั้นที่ 1 มีความทรุดตัว แตกและแยกออกจากพื้นอาคารอย่างเห็นได้ชัด และพื้นอาคารก็เป็นโพรงลึกประมาณ 1 เมตร

ซึ่ง ปปช.ได้ขอฟังข้อเท็จจริงจากคณะครู ที่เคยเป็นคณะกรรมการประกาศหาผู้รับจ้าง คณะกรรมการตรวจการสร้างและคณะกรรมการตรวจรับงาน แต่ทราบจากคณะครูว่า เกษียณราชการกันไปหมดแล้ว เหลือเพียงครูที่ทำการสอนนักเรียนตามปกติ ส่วนเอกสารต่างๆรวมทั้งการตั้งกรรมการทุกชุด และแบบก่อสร้างทั้งหมด โรงเรียนได้มาจาก ศพฐ.ครูในโรงเรียนทำหน้าที่ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเท่านั้น จากนั้นปปช.ก็ทำการตรวจสอบเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอาคารเรียนดังกล่าว

นายธีรัตน์ บางเพ็ชร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดขอนแก่น

พบเอกสารที่มีการารายงานผลการดำเนินงานงบการลงทุน ปี 2562 ประเภทสิ่งก่อสร้างอาคารเรียน คืออาคารเรียน 216 ล./57-ก งบประมาณ 11,610,400 บาท ประกาศจัดจ้างแบบเชิญชวนทั่วไปเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562 ประกาศได้ผู้รับจ้างวันที่ 20 มกราคม 2562 ลงนามสัญญา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 โดยได้ผู้รับจ้าง ชื่อ บริษัท 5 ส.ก่อสร้างจำกัด ดำเนินการสร้างตามเลขที่สัญญา 1/2562 ลงนามสัญญา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 สิ้นสุดสัญญา 10 พฤษภาคม 2563 ระยะเวลาการดำเนินการ 450 วัน

 

จากนั้น ปปช.ได้เดินตรวจสอบที่อาคารดังกล่าว โดยมีนายสุรพล สอนเสนา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และนางสาวสุภาพร โฉมมงคล รองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนชุมแพ พร้อมคณะครู นำผอ.ปปช.ขอนแก่น เดินสำรวจทั้งชั้นล่างและชั้นบนของตัวอาคารดังกล่าว  

นายธีรัตน์ บางเพ็ชร ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน  หลังการตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องและตรวจอาคารเรียน ในกรณีที่ใต้พื้นอาคารเรียนเป็นโพรงลึกประมาณ 1 เมตร รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างหรือไม่ นายธีรัตน์  กล่าวว่า ได้รับฟังข้อเท็จจริงจากทางทางโรงเรียน ว่ามีการแก้ไขแบบโดยเฉพาะการแก้ไขเสาเข็ม จากเสาเข็มเจาะ เป็นแบบฐานแผ่ ซึ่งถ้าดูตามระเบียบ ก็สามารถดำเนินการได้ แต่จะต้องเป็นไปตามงานวิศวกรรม เพราะฐานที่แก้ไขต้องรองรับน้ำหนักตัวคานได้ ซึ่งทราบว่ามีการได้พูดคุยระหว่างผู้ประกอบการกับทางโรงเรียนที่เป็นผู้ว่าจ้างแล้ว ซึ่งเป็นไปตามระเบียบ การจัดซื้อจัดจ้าง 

ส่วนการตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ถ้าดูจากข้อเท็จจริงตามคำสั่งแต่งตั้งปรากฏว่าการแต่งตั้งกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นข้าราชการครูในโรงเรียนทั้งหมด ทั้งการกำหนดราคากลาง การตรวจรับการจ้าง และผู้ควบคุมงาน ซึ่งในจุดนี้ ทุกคนรู้ว่าครูอาจารย์ทำหน้าที่สอนนักเรียนไม่ได้มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง ก่อสร้างต่างๆ จึงทำให้เกิดข้อบกพร่อง ในการตรวจรับ และการควบคุมงาน 

Screenshot

“แต่ถ้าถามว่า ครูที่เป็นคณะกรรมการนั้น ทำหน้าที่ครบหรือไม่ ต้องตอบว่าครบ แต่จากประสบการณ์และองค์ความรู้ที่มี มันไม่ตรงกับสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ดูได้จาก เอกสารของสตง.ที่ให้คำแนะนำไว้ว่าไม่เป็นไปตามระเบียบ โดยเฉพาะการจัดทำราคากลาง แล้วก็ในส่วนของราคาตามที่ได้ผู้ชนะได้ ซึ่งราคากลาง กำหนดไว้ 21 ล้าน แต่ผู้ชนะการประกวด เสนอราคามาที่ 15 ล้านบาท ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์กับทางส่วนราชการ เพราะเสนอราคาต่ำ คณะกรรมการจัดซื้อจ้าง เลือกผู้ประกอบการที่เสนอราคาต่ำสุด ตรงนี้มันก็เหมือนเป็นไปตามระเบียบ แต่จริงๆระเบียบเขากำหนด ราคากลางไว้ว่าถ้ามันต่ำกว่าราคากลางที่กำหนดไว้เกินกว่า 10-15% จะต้องมีการรายงานแจ้งไปยังผู้มีอำนาจ ในการจัดซื้อจัดจ้างว่าจะดำเนินการต่อหรือยกเลิกการประกวดราคา ในครั้งนี้” 

นายธีรัตน์  กล่าวอีกว่า การก่อสร้าง สร้างแล้วเสร็จและได้ใช้งานมาแล้ว 5 ปี สภาพอาคาร ยังดูแข็งแรง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น กรณีพื้นบริเวณฟุตบาททรุด มองเห็นโพรงใต้พื้นอาคารนั้น ฟังข้อเท็จจริงจากการสอบถามครู อาจารย์ในโรงเรียนที่เห็นการก่อสร้าง ทราบว่า การก่อสร้างดำเนินการสร้างบนพื้นดินเดิมที่ไม่มีการถามดิน  เมื่อการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ จึงมีการถมดินรอบตัวอาคารสูงประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 2 เมตร เพื่อทำฟุตบาท  และเมื่อเกิดการใช้งานและฝนตกลงมาที่พื้นดิน ดินก็อุ้มน้ำ ทำให้ฟุตบาทแยกตัวออกจากพื้นคอนกรีต มองเห็นโพรงด้านใน   และดินที่ถมทำฟุตบาทก็สไลด์ลงไปที่โพรง  แต่ทั้งหมดไม่กระทบกับโครงสร้างของอาคารเรียนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เพื่อความมั่นใจของครู นักเรียนที่ทำการเรียนการสอนที่อาคารดังกล่าว โรงเรียนและ สพป.ขอนแก่น เขต 5 ประสานโยธาธิการจังหวัดขอนแก่น และวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบเช่นกัน/////////////

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง