ร้านซูชิชื่อดัง Kensaku ได้โพสต์รีวิวการชำแหละดูอวัยวะภายในของปลาหมอคางดำ พบปริศนาหลายอย่างที่อธิบายได้ว่าทำไมปลาชนิดนี้ถึงไม่เป็นที่นิยมและทำไมถึงขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
- ไส้ปลาหมอคางดำยาวกว่าลำตัวถึง 9 เท่า
การวัดความยาวของไส้ปลาหมอคางดำพบว่ายาวถึง 9 เท่าของลำตัว ซึ่งเป็นความยาวที่น่าตกใจ - ปริมาณเนื้อปลาน้อยมาก
เนื้อล้วนแบบไม่มีก้างมีเพียง 28% ของน้ำหนักตัว ถ้าน้ำหนักตัว 277 กรัม จะมีเนื้อล้วนเพียง 79 กรัม เท่านั้น ซึ่งส่วนที่ต้องทิ้งคือ 72% ของน้ำหนักตัว - อาหารในท้องเป็นเลนตะไคร่
ในท้องของปลาหมอคางดำมีแต่เลนตะไคร่ สันนิษฐานว่าอาหารอย่างอื่นหายาก ทำให้ต้องกินเลนตะไคร่ - อัตราการจับสูงมาก
การจับแบบสุ่มแหที่บ่อหอยบางขุนเทียน พบว่าปลาหมอคางดำมีอัตราการจับถึง 90% ของสัตว์ทั้งหมด - ปลาส่วนใหญ่พร้อมสืบพันธุ์และไม่มีไขมันในท้อง
ปลาหมอคางดำที่จับได้ส่วนใหญ่พร้อมสืบพันธุ์ถึง 80% และไม่มีไขมันในท้อง นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ปลาชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
หลังโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมาย หลายคนมองว่าจากคุณสมบัติของปลาชนิดนี้ ไม่เหมาะแก่การนำมาเป็นอาหารคน แต่เหมาะแก่การเป็นอาหารสัตว์มากกว่า
Leave a Response