ลงทุนในมนุษย์ 2% มากกว่านี้ได้ไหม?

IMG_1247

“ปะจัน” โดย “เขี้ยวจัน”

ที่นี่….ไม่ใช่คอลัมน์ร้องทุกข์ แต่เป็น การสังคมอุดมปัญญา ลุกขึ้นมา “ทวงสิทธิ” ของการเป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ เจ้าของคะแนนเสียงที่เลือก “ตัวแทน” ในทุกระดับ ของการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารบ้านเมือง ด้วยข้าราชการ “ตัวแทน” จากส่วนกลาง ทุกกระทรวง ทบวง กรม…[ หน้ารวมบทความ ปะจัน ]

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือการพัฒนาบ้านเมืองที่เน้นทุนมนุษย์ คนที่มีความฉลาดมักจะขยันทำสิ่งที่ฉลาดๆ ในทางตรงกันข้าม คนที่มีความฉลาดน้อยก็มักจะขยันทำสิ่งที่ไม่น่าฉลาดเช่นกัน ฮา…

เมื่อรู้เช่นนี้ “ผู้นำ” จึงวางแผนการพัฒนาประเทศอย่างแยบยล มองไกลไปอีก 10 ปีข้างหน้า แผนยุทธศาสตร์ชาตินี้เป็นโรดแมพและหมุดหมายที่สามารถกลายเป็นความจริงได้หากลงมือทำ แม้ต้องใช้ความอดทน ความมั่นคงทางใจ ขยัน และในที่สุด รสชาติของความสำเร็จจะหอมหวานเสมอ ใช่ไหม?

งานวิจัยจากสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) เปิดเผยงานวิจัยล่าสุดในปี 2567 ที่สะเทือนใจคนไทยเมื่อเห็นว่าประเทศอื่นๆ แซงหน้าไปหลายช่วงตัว

ค่านิยมของคนรุ่นใหม่ไม่นิยมเข้าเป็น “ลูกจ้าง” ส่งผลให้องค์กรต้องใช้เวลาในการหาคนที่เหมาะกับงานนานขึ้น ซึ่งเป็นการเสียโอกาสในการแข่งขันและเพิ่มต้นทุน เพราะคนทำงานยุคนี้เรียกร้องค่าตอบแทนที่สูงโดยไม่ได้คิดว่าตัวเองคุ้มค่าจ้างอย่างไร ต้องการสวัสดิการที่กลายเป็นต้นทุนสูงขององค์กร ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดสินค้าไม่ง่ายเพราะผู้ซื้อนิยมของราคาถูก

ยุคนี้คนหางานผ่านระบบออนไลน์กว่า 98% แต่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ยังคงทำงานแบบเดิม หางานให้คนด้วยวิธีที่ล้าสมัย โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวซึ่งมักมีเครือข่ายแนะนำกันในกลุ่ม แต่คนทำงานออฟฟิศส่วนใหญ่ไม่เคยใช้วิธีนี้

ที่น่าสนใจคือ การจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากร ทั้งในองค์กรเอกชนและรัฐบาล ส่วนใหญ่จัดสรรงบประมาณไว้ราวๆ 2% ของงบทั้งหมด โอววว…

ตีความได้ว่า 100 คน จะได้รับการพัฒนาเพียง 2 คน อีก 98 คนต้องอยู่ตามมีตามเกิดแล้วองค์กรจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร? หลับตานึกภาพก็เห็นตามนั้น

แล้วองค์กรและประเทศจะใช้ปัจจัยใดในการพัฒนา? อย่าบอกว่าใช้ AI เพราะ AI ก็ต้องมีบุคลากรพัฒนาระบบด้วยเช่นกัน…

ประเทศไทยมีประชากรราว 67 ล้านคน แสดงผลแบบง่ายๆ คือจะมีคนราว 1.34 ล้านคนที่จะได้รับการพัฒนา… ก็อีกครั้ง เข้าข่ายความเหลื่อมล้ำอีกแล้ว…

ยุ่งเหยิงอีกครั้ง… เราได้แต่ฝันและหวังว่าระบบ “ผู้แทนราษฎร์” จะทำงานโดยมองไปข้างหน้า แต่พวกเขายังตั้งตาแย่ง “เก้าอี้” จนประเทศติดหล่มมากว่า 17 ปี กลับมาคราวนี้ก็ยังเชื่อใจไม่ได้แม้แต่น้อย

“พระราชาให้เบ็ดไปตกปลา” หาปลาเองได้ยาวนาน แต่ “นักการเมืองให้ปลา… กินวันนี้ พรุ่งนี้ไม่มีให้กิน…”

#ทุนมนุษย์ #ยุทธศาสตร์ชาติ #การพัฒนาประเทศ #แรงงานออนไลน์ #ความเหลื่อมล้ำ

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง