นักวิจัยไทยค้นพบตัวกล้วยตากชนิดใหม่ของโลก 2 ชนิด

Screenshot 2024-09-24 at 07-42-37 เปิดภาพสัตว์ปริศนา

                หน่วยปฏิบัติการซิสเทมาติคส์ของสัตว์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศความสำเร็จในการค้นพบตัวกล้วยตากชนิดใหม่ของโลก 2 ชนิด ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่นำโดย นางสาวบวรลักษณ์ มิตรเชื้อชาติ นิสิตระดับปริญญาเอก ภายใต้การดูแลของ ศ. ดร.สมศักดิ์ ปัญหา

               ตัวกล้วยตาก หรือทากเปลือยบก (land slug) จัดอยู่ในกลุ่มหอยฝาเดียว แต่มีการลดรูปเปลือกจนไม่มีเปลือกหลงเหลือ สัตว์ชนิดนี้มีชื่อเรียกต่างกันในหลายภาคของประเทศไทย เช่น ลิ้นหมา ขี้ตืกฟ้า และทากฟ้า โดยมักพบตามกองใบไม้ผุพังหรือบริเวณที่มีวัตถุปกคลุมหน้าดิน ทั้งในแหล่งธรรมชาติและพื้นที่ที่ถูกรบกวนโดยมนุษย์

              ในงานวิจัยนี้ ทีมวิจัยได้ศึกษาและแยกแยะตัวกล้วยตากในสกุล Valiguna crispa ซึ่งพบในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลดีเอ็นเอและอวัยวะภายในเป็นเครื่องมือในการแยกแยะชนิด เนื่องจากภายนอกของตัวกล้วยตากมีลักษณะคล้ายกันมาก ผลการวิจัยทำให้พบตัวกล้วยตากใหม่ 2 ชนิด ได้แก่

              – Valiguna semicerina Mitchueachart & Panha, 2024 พบในภาคตะวันออกของประเทศไทยและบางส่วนในกัมพูชาและเมียนมา และ

               – Valiguna crispa Mitchueachart & Panha, 2024 พบเฉพาะที่ถ้ำขมิ้น จ.สุราษฎร์ธานี

              การค้นพบครั้งนี้ช่วยเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับทากเปลือยบกในวงศ์ Veronicellidae และชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการศึกษาความหลากหลายทางสัณฐานวิทยาและพันธุกรรมของสัตว์กลุ่มนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในอนาคต

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง