พักหนี้ ตัดห่วงโซ่ เศรษฐกิจ

Cover Web KKL (เว็บไซต์)

“ปะจัน” โดย “เขี้ยวจัน”

ที่นี่….ไม่ใช่คอลัมน์ร้องทุกข์ แต่เป็น การสังคมอุดมปัญญา ลุกขึ้นมา “ทวงสิทธิ” ของการเป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ เจ้าของคะแนนเสียงที่เลือก “ตัวแทน” ในทุกระดับ ของการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารบ้านเมือง ด้วยข้าราชการ “ตัวแทน” จากส่วนกลาง ทุกกระทรวง ทบวง กรม…[ หน้ารวมบทความ ปะจัน ]

ข่าวนโยบาย “การพักหนี้” ของรัฐบาล ลูกหนี้อาจได้เฮ.. แต่มองลึกลงไปแบบมีสติ แบบนี้นะ…

ธุรกิจแบงค์พาณิชย์ คือ การค้าขาย “เงิน” หรือ เงิน คือ สินค้า ที่เป็นผลิตภัณฑ์ เมื่อนำออกขายก็ต้องขายได้และมีผลตอบแทน

ผลตอบแทนของเงิน คือ “ดอกเบี้ย” ผู้กู้ คือ “ลูกหนี้” ที่ต้องชำระดอกเบี้ย และเงินต้นคืน

หากไม่ได้รับผลตอบแทน เป็นการตัดวงจร “ห่วงโซ่” ที่ต้องเดินตามจังหวะของสายพานการผลิต บิดเบือน กระบวนการการทำหน้าที่ตัวแปรของระบบเศรษฐกิจ

แบงค์ ขาดรายได้ เศรษฐกิจอาจหดตัว เหมือนร่างกายที่เลือดลมไหลเวียนติดขัด  แบงค์อาจต้องรัดเข็มขัดอีกหลายประเภท เพื่อรักษาอวัยวะ การปล่อยกู้ต้องทบทวน เข้มงวด ยิ่งซ้ำเติมผู้ประกอบการที่ต้องการเม็ดเงินมาสนับสนุน

ตลาดการเงินเสรี ของโลกทุนนิยม มีกลไกทางการตลาด ที่สร้างสมดุลด้วยตัวเอง เงินฝากของลูกค้า เป็น “สินค้า” หากไม่นำออกไปปล่อยทำงาน ทำเงิน สภาพไม่ต่างกัน คือ “เงินล้นแบงค์” หรือ สินค้าล้นสต๊อก

นโยบายของรัฐบาล มีผลใช้บังคับกับธนาคารของรัฐ อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นต้น ส่วนธนาคารพานิชย์ของภาคเอกชน ไม่สามารถกระทำได้ (อาจเป็นการขอความร่วมมือ จะให้ก็ได้-ไม่ให้ก็ได้)

ตามการบริหารของตลาดการเงินเสรี การใช้นโยบาย “พักหนี้” ไม่ค่อยพบในต่างประเทศ เพราะผู้บริหารรู้ดีว่า เป็นผลร้าย มากกว่าเป็นผลดีของระบบเศรษฐกิจมหภาค ทั้ง พักเงินต้น พักดอกเบี้ย ด้วยโลกทางการเงิน เรื่องของ “เวลา จะเดินไปพร้อมกับการงอกเงยของเงิน การหยุดเวลา จึงเหมือนหยุดชีพจร ของธุรกิจ

หนี้สินครัวเรือน หนี้ของประชาชน ที่รุงรังพุ่งสูงขึ้น จึงเป็นการแก้ไขปลายเหตุด้วยการ “พักหนี้  เพื่อแต้มคูทางการเมืองชั่วคราว การวางรากฐานประเทศ ให้มีความมั่นคง ชวนพลเมืองมาขยัน ขันแข็งทำงาน ทำมาหากิน ยกระดับความรู้ ความสามารถ ทันโลก ทันยุค เพิ่มขีดความแข่งขัน ไม่ให้ตกชั้น ทำบ้านเมืองให้สะอาด จะงดงามกว่าเยอะ..

มิใยที่ใครๆ จะออกมาแสดงความคิดเห็น นักการเมืองที่ “กำอำนาจ” ในมือ ด้วยความเหิมเกริม ลุแก่อำนาจในการบริหารประเทศ มีเพียง “กรรม” เท่านั้นที่จะ ไล่ล่า…

Leave a Response

ใส่ความเห็น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง