อาหารแช่แข็งเสี่ยงสารอาหารลดลง หากอุ่นซ้ำ
ช่องแช่แข็งตู้เย็นบ้าน อาจไม่เหมาะกับการเก็บระยะยาว
อาหารแช่แข็งมักขาดเส้นใยและวิตามินสำคัญ
โซเดียมสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและไต
ควรเลือกฉลากโซเดียมต่ำ ไม่เกิน 500-600 มก.
#อาหารแช่แข็ง #สุขภาพดีต้องรู้ #กินอย่างสมดุล #โซเดียมสูงอันตราย #โภชนาการที่ดี
———
อาหารแช่แข็ง ถือเป็นตัวช่วยสำหรับคนที่มีเวลาน้อย แต่หากกินเป็นประจำโดยไม่เลือกให้เหมาะสม อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ วันนี้ รศ. ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จะมาเตือนถึง 3 ความเสี่ยงของอาหารแช่แข็ง และแนะนำวิธีการเลือกที่ปลอดภัย
อาหารแช่แข็งอุ่นซ้ำ เสี่ยงสูญเสียสารอาหาร
หลายคนคิดว่าอาหารแช่แข็งสามารถเก็บได้นานโดยไม่มีผลกระทบ แต่แท้จริงแล้ว สารอาหาร เช่น วิตามิน B, C และแคโรทีนอยด์ อาจลดลงเมื่ออุ่นซ้ำ โดยเฉพาะอาหารที่เก็บไว้นาน หรือถูกอุ่นซ้ำหลายครั้ง
ช่องแช่แข็งในตู้เย็นบ้าน อาจไม่เหมาะกับการเก็บระยะยาว
แม้ว่าการแช่แข็งจะช่วยรักษาคุณภาพอาหารได้ แต่หากอุณหภูมิไม่เหมาะสม หรือ นำอาหารออกมาใช้แล้วแช่กลับเข้าไปใหม่ อาจทำให้แบคทีเรียเติบโต ส่งผลให้อาหารเป็นพิษ และเป็นอันตรายต่อร่างกาย
อาหารแช่แข็งมักขาดเส้นใยและวิตามิน
เมนูแช่แข็งส่วนใหญ่ขาดผักและเส้นใยอาหาร หากกินซ้ำๆ อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น ดังนั้นควรเสริมด้วย ผักสดหรือผลไม้ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน
โซเดียมสูง เสี่ยงโรคหัวใจและไต
อาหารแช่แข็งหลายชนิดมี โซเดียมสูงเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคไต โดย ปริมาณโซเดียมที่แนะนำต่อวันไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม
วิธีเลือกอาหารแช่แข็งให้ปลอดภัย
ดูฉลากโภชนาการ เลือกเมนูที่ มีโซเดียมต่ำ ไม่เกิน 500-600 มิลลิกรัมต่อมื้อ
เลือกเมนูที่มี ผักหรือธัญพืชเสริม เพื่อเพิ่มใยอาหาร
หลีกเลี่ยงการแช่อาหารนานเกินไป หรือแช่ซ้ำหลังจากละลายแล้ว
อุ่นอาหารด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของแบคทีเรีย
สรุป
อาหารแช่แข็งอาจเป็นตัวช่วยในมื้อเร่งด่วน แต่ควรเลือกอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงเมนูโซเดียมสูง และเสริมผักหรือผลไม้ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนและปลอดภัยต่อสุขภาพ
Leave a Response